วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

โรค Cryptosporidiosis


โปรโตซัวCryptosporidium ที่พบในสัตว์เลือดอุ่น (Homothermous animals) มี 4 ชนิดได้แก่ C. parvum พบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิดรวมทั้งในคน C. muris พบในหนู (mice) และ ปศุสัตว์ (cattle) C. baileyi พบในไก่และ C. meleagridis พบในไก่งวง
การแยกชนิดของโปรโตซัว Cryptosporidium spp.อาศัยลักษณะสำคัญ คือ ระยะ oocysts มีขนาดเล็กมาก (1.5-5 ไมครอน) เมื่อผ่านออกมาภายนอก จะมีลักษณะ sporulated และเจริญเป็น sporozoite 4 sporozoites โดยที่ไม่มี sporocyst โปรโตซัวชนิดนี้ย้อมติดสี acid-fast ได้ดีพอที่จะใช้ในการแยกออกจากโปรโตซัวชนิดอื่น ๆ

การติดต่อ
1.            ในคน ติดต่อจากการได้รับ oocyst ที่ปนเปื้อนมากับอาหาร หรือน้ำ โดย oocysts
อาจออกมากับมูลสัตว์ เช่น โค กระบือ และปนเปื้อนอยู่ในสภาพแวดล้อม โรค Cryptosporidiosis มีการระบาดในแหล่งน้ำประปาที่ปนเปื้อนมูลสัตว์ ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวเป็นจำนวนมาก ในประเทศสหรัฐอเมริกา
2.            ในสัตว์  ติดต่อจากการกิน เช่นเดียวกันกับในคน

อาการ
พยาธิโปรโตซัว Cryptosporidium spp. มีการรายงานค้นพบตั้งแต่ปี ค.. 1912 แต่การทำให้เกิดพยาธิสภาพในสัตว์เลี้ยงเริ่มรายงานในปี 1971 และในคนในปี 1976 C. parvum เป็นปรสิตที่ติดต่อในคนได้ และมีความจำเพาะต่อโฮสต์น้อยกว่าโปรโตซัวชนิดอื่น ๆ การแพร่กระจายของโรค มักจะพบมีรายงานในนักเรียนสัตวแพทย์ที่ต้องทำงานและสัมผัสลูกโคที่มีเชื้ออยู่ ปรสิตชนิดนี้อาจพบทำให้เกิดโรคได้ใน คน, สัตว์เคี้ยวเอื้อง, สุกร, ม้า สัตว์กินเนื้อ (carnivores) และสัตว์ฟันแทะ (rodent) โรคนี้ค่อนข้างพบมากเพียงใน คน และลูกโคเท่านั้น โดยจะพบติดเชื้อได้บ่อยในพวกที่มีอายุน้อย สัตว์หรือคนที่ติดโปรโตซัวชนิดนี้สามารถควบคุมโรคได้ด้วยภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นตอบสนองอย่างทันที
            ในประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่าผู้ป่วยที่มีอาการท้องเสีย สามารถตรวจพบ oocysts ของ C. parvum ได้ถึง 4 %  แต่จากการสำรวจในผู้ป่วยที่มีเชื้อแต่ไม่มีอาการ จำนวน 169 ราย มีเพียง 13 % ที่ตรวจพบ oocysts การติดเชื้อแบบที่ไม่แสดงอาการมักจะพบเป็นประจำในคน ผู้ที่ติดเชื้อและแสดงอาการ จะพบอาการท้องเสียเป็นน้ำอย่างรุนแรง (a severe watery diarrhea) พร้อมกับอาการปวดท้อง (intestinal cramps) และน้ำหนักตัวลดอย่างรวดเร็ว ในผู้ป่วยในรายที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาการท้องเสียและน้ำหนักลดอย่างรวดเร็วอาจจะทำให้ผู้ป่วยถึงแก่ความตายได้

               

            ในลูกโค เป็นโฮสต์ที่ไวต่อการติดโรคมากที่สุดในบรรดาสัตว์เลี้ยง ในทวีปอเมริกาเหนือ การศึกษาลูกวัวที่มีอาการท้องเสีย พบว่ามี oocysts ของ C. parvum ออกมากับอุจจาระ ประมาณ 25 % การติดเชื้อมักจะเกิดในช่วง 3 สัปดาห์แรกของอายุสัตว์และเมื่อสัตว์แสดงอาการ โรคจะคงอยู่ประมาณ 5-35 วันของอายุสัตว์ อาการของโรค Cryptosporidiosis จะคล้ายกับโรค Coccidiosis ที่เกิดจากโปรโตซัว Eimeria spp. โดยจะเกิดอาการท้องเสียร่วมกับอาการปวดท้อง (tenesmus) ไม่กินอาหาร และน้ำหนักลด
            C. muris ทำให้เกิดการติดเชื้อที่ abomasum โดยที่ไม่มีอาการชัดเจน
            ในสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น ๆ นอกเหนือไปจากลูกโค เช่น สุกร, ม้า,สัตว์กินเนื้อ อาการแสดงอาการของโรค Cryptosporidiosis จะมีอาการเฉพาะของอาการท้องเสียที่จะพบเกิดเป็นระยะ ๆ โดยพบมีรายงานในสัตว์ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือในสัตว์ที่มีอายุน้อยมาก
            Cryptosporidium spp.ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จะไม่สามารถติดในพวกสัตว์ปีก และในทำนองเดียวกัน เชื้อในสัตว์ปีกก็จะไม่สามารถติดคนได้ C. baileyis ทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ และ C. meleagridis ทำให้เกิดโรคในระบบทางเดินอาหาร เชื้อเหล่านี้ไม่จำเพาะต่อโฮสต์ชนิดใดชนิดหนึ่ง โดยสามารถติดได้ทั้งในไก่, ไก่งวง, นก และสัตว์ปีกชนิดอื่น ๆ (gallinaceous or psittacid birds) การเกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ มีรายงานความรุนแรงของโรคอาจทำให้สัตว์ตายได้ ในพวกลูกไก่งวง หรือนกกระทา
            กลไกการเกิดพยาธิสภาพของเชื้อโปรโตซัว Cryptosporidium spp. ยังไม่มีรายละเอียดมากนัก เนื่องจากตัวโรคเองมักเกิดแบบไม่มีอาการ ทำให้การเกิดพยาธิสภาพต่อเนื้อเยื่อต่าง ๆ มีอยู่จำนวนน้อย แต่ผลของปรสิตที่มีต่อโฮสต์ที่พบได้คือ การรบกวน หรือขัดขวางการดูดซึม หรือการหลั่งสารของ microvilli

การตรวจวินิจฉัย
การตรวจวินิจฉัยโรค Cryptosporidiosis ทำได้จาก การสังเกตอาการ และยืนยันจากการ
ตรวจหา Oocysts ในอุจจาระ เหมือนกับการตรวจวินิจฉัยโรคบิด การพบ oocysts ยังไม่สามารถยืนยันโรคนี้ได้ 100 % เนื่องมาจากขนาดของ oocysts ที่เล็กมาก ทำให้ตรวจหาได้ยากในการตรวจทั่ว ๆ ไป ของการตรวจอุจจาระ
การตรวจอุจจาระโดยใช้เทคนิค IFA ที่มีแอนติบอดีย์จำเพาะต่อ Cryptosporidium spp.และ conjugate ด้วยสารเรืองแสง จะช่วยยืนยันตำแหน่งของ oocysts ในอุจจาระได้ แต่เทคนิคดังกล่าว จำต้องอาศัย fluorescence microscope การตรวจทาง section ของเนื้อเยื่อ สามารถช่วยยืนยันเชื้อชนิดนี้ได้เช่นกัน จากการศึกษาใน cattle พบว่าถ้าตรวจด้วย fecal smear จะพบเชื้อ 62 % และ 92 % ถ้าใช้เทคนิค fecal floatation โดยใช้สารละลายน้ำตาลและ 90 % ถ้าตรวจด้วยทาง Serological tests

การรักษา
มีการใช้ยารักษาโรค Cryptosporidiosis หลายชนิด Spiramycin ให้ผลในการรักษาในคน
โดยใช้ขนาด 50-100 มก/กก ติดต่อกันเป็นเวลา 6 วัน และยังมีผลต่อการรักษา canine Isosporosis  Paromomycin ช่วยลดอาการในรายผู้ป่วยที่มีเชื้อ AIDS และแนะนำให้ใช้ในสุนัขได้ด้วยขนาด 125-165 มก/กก วันละ 2 ครั้ง ติดต่อกันเป็นเวลา 5 วัน การรักษาแบบ supportive มีความจำเป็นในรายที่แสดงอาการของโรคอย่างรุนแรง

ระบาดวิทยา
Cryptosporidium สามารถติดต่อระหว่างคนหรือสัตว์จากการปนเปื้อนของอุจจาระภาย
ในกลุ่มดังกล่าว หรือ ระหว่างชนิดของสัตว์ การได้รับ oocysts จำนวน 30 oocysts ทำให้โฮสต์มีโอกาสต่อโรคประมาณ 20 % แต่ถ้าได้รับตั้งแต่ 1,000 oocysts ขึ้นไปโอกาสติดโรค 100 %
            จากการศึกษาใน cattle , ม้า และสุนัข พบว่าการติด Cryptosporidium มักจะพบในสัตว์อายุน้อยมาก ๆ เช่น พวกลูกสัตว์ที่กำลังกินนม (nursing animals) การติดเชื้อจะกระตุ้นภูมิคุ้มกันออกมาควบคุมโรคภายใน 1-3 สัปดาห์ แต่การผลิต oocysts จะยังคงอยู่ประมาณ 3-5 สัปดาห์ ความต้านทานต่อเชื้อ Cryptosporidium จะเกิดขึ้นสูงมากในม้าและสุนัข ซึ่งจะมีผลในการกำจัดเชื้อส่วนใหญ่ในสัตว์ดังกล่าว แต่ไม่พบในคนหรือ cattle ซึ่งสามารถนำโรคได้แม้จะไม่แสดงอาการของโรคก็ตาม ทั้งนี้อาจจะเนื่องมาจาก ม้าและสุนัขได้รับเชื้อจากลูกสัตว์ตัวอื่น ๆ ที่ติดเชื้อ ในขณะที่ลูกโคติดเชื้อโดยตรงจากแม่ และสัตว์ที่โตเต็มวัยอื่น ๆ ที่อยู่ในฝูง
            การติดเชื้อในคนจะเกิดจากการติดระหว่างคนมากกว่าที่จะติดจากสัตว์ การติดเชื้อในคนจะเกิดจากการปนเปื้อนจากน้ำ, อาหาร หรือ มือที่ไม่ได้ล้างก่อนหยิบอาหาร คนที่เลี่ยงต่อการติดโรค Cryptosporidiosis ได้แก่ สัตวแพทย์, นักเรียนสัตวแพทย์, เกษตรกรเลี้ยงโคนม และคนรีดนมวัว
            โรค Cryptosporidiosis พบได้บ่อยมากใน cattle โดยเฉพาะในลูกโคที่อายุน้อยกว่า 1 เดือน อาจพบสูงถึง 80 % ในโคที่โตเต็มที่ อาจพบได้ถึง 62 % ในบางพื้นที่ โดยโคอาจจะดูสุขภาพแข็งแรง แต่ว่ามี oocysts ออกมากับอุจจาระ แต่ถ้าตรวจทางซีรั่มอาจพบสูงถึง 90 %
            การติดเชื้อในลูกม้าที่กำลังกินนมแม่ อาจพบระหว่าง 15-31 % ส่วนในม้าโตจะพบต่ำกว่า 1 %
            อัตราการติดโรค Cryptosporidiosis ในคนประเทศสหรัฐอเมริกา ประมาณ 1.6 % และในประเทศอุตสาหกรรมประมาณ 2 % และอาจพบถึง 10 % ในประเทศที่กำลังพัฒนา การตรวจทางซีรั่มเพื่อหาระดับของแอนติบอดีย์ซึ่งแสดงถึงการติดเชื้อในอดีตหรือปัจจุบัน การติดเชื้อ Cryptosporidium จะมีความสัมพันธ์กับความสะอาดของสภาพแวดล้อม (ระบบน้ำดื่ม และน้ำเสีย) โรงกรองน้ำเพื่อทำน้ำประปาที่มีการรองด้วยทรายสามารถกำจัด oocysts ได้ 91-99.8 % แต่ถ้าไม่มีการกรองด้วยชั้นทรายจะกำจัด oocysts ได้เพียง 74-79 % ในปี 1993 ในรัฐวิสคอนซิน (Wisconsin) เกิดการระบาดของโรคนี้ ทำให้มีผู้ป่วยถึง 403,000 คน และทำให้คนตายถึง 7 ราย
            Oocysts ของ Cryptosporidium จะมีความคงทนต่อสภาพแวดล้อมอย่างมาก ฟอร์มาลิน (formalin) ที่ความเข้มข้น 10 % สามารถฆ่าเชื้อได้ใน 30 นาที แอมโมเนียที่ความเข้มข้น 50 % ผงซักฟอก (bleach) ความเข้มข้น 70-100 % หรือที่อุณหภูมิ 65 0C หรือ –20 0C ในน้ำ ozone ขนาด 1 ส่วนต่อน้ำ 1 ล้านส่วน (ppm) สามารถฆ่าเชื้อใน 6-10 นาที หรือ คลอรีน (chlorine) 80 ppm จะใช้เวลา 120 นาที เชื้อสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานหลายเดือนภายใต้สภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม

การควบคุมและป้องกัน

1.ในคน ควรหลีกเลี่ยงจากการปนเปื้อนของอุจจาระในน้ำ, อาหาร หรือ มือจากคนอื่น ๆ หรือจากสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคนี้ ที่จำเป็นต้องสัมผัสกับสัตว์ที่อาจจะเป็นพาหะของโรค เช่น โค กระบือ หรือสัมผัสสิ่งปนเปื้อนที่มาจากสัตว์ ควรหมั่นรักษาความสะอาดของร่างกาย หรือใส่อุปกรณ์ป้องกันเช่น ถุงมือ รองเท้าบู๊ท เสื้อคลุม เพื่อป้องกันการได้รับเชื้อโดยไม่ตั้งใจ 
2. ไม่ควรนำสัตว์ไปใช้แหล่งน้ำร่วมกับคน เพื่อป้องกันการปนเปื้อนแหล่งน้ำและอาจทำให้
โรคแพร่กระจายไปอย่างกว้างขวาง
            3.  ควรตรวจสุขภาพสัตว์เป็นประจำ โดยเฉพาะอุจจาระเพื่อหาทางกำจัดสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคในฝูงที่อาจติดมายังคนได้
4. ในการปนเปื้อนของโรงเรือนสัตว์ปีก การควบคุมความสะอาดอย่างเข้มงวด และการแยกสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคออกจากสัตว์ที่ไวต่อการติดโรค รวมทั้งคนดูแลและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในโรงเรือน ในกรณีที่การระบาดของโรคนำไปสู่อัตราการตายจำนวนมาก การทำลายสัตว์ที่อาจนำโรค และการฆ่าเชื้อของโรงเรือนทั้งหมด รวมทั้งบริเวณใกล้เคียงด้วยไอน้ำ หรือยาฆ่าเชื้อที่ได้กล่าวข้างต้น จะมีประสิทธิภาพในการหยุดการเพิ่มจำนวนของเชื้อสะสมในสภาพแวดล้อม
           

โรค Toxoplasmosis

โรค Toxoplasmosis เกิดจากเชื้อโปรโตซัว Toxoplasma gondii ซึ่งทำให้เกิด congenital
toxoplasmosis ในคน โดยเฉพาะผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ อาจทำให้แท้งหรือลูกเกิดมาพิการ เชื้อ   T. gondii พบในทางเดินอาหารของพวกสัตว์ตระกูลเสือ รวมทั้งแมวที่เลี้ยงอยู่ตามบ้าน แมวเป็นสัตว์ที่เก็บกักโรคที่สำคัญและเชื้อ T. gondii อาจพบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเกือบทุกชนิด จึงมีความสำคัญทั้งทางด้านการแพทย์และทางด้านสัตวแพทย์

การติดต่อ
โฮสต์กึ่งกลางที่มีมากกว่า 200 ชนิด รวมทั้งคน, สัตว์เคี้ยวเอื้อง, สุกร,ม้า, carnivores,
rodents, marsupials, insectivores และสัตว์ปีกหลายชนิด ติดเชื้อจากการกินระยะ bradyzoites ในเนื้อที่ไม่ได้ทำให้สุก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อาหารจำพวกแหนม, น้ำตก, ลาบ, หรือ อาจเกิดจากการปนเปื้อนของน้ำ, อาหาร หรือมือ กับ oocysts ของเชื้อ Toxoplasma
            โรค toxoplasmosis สามารถติดต่อจากแม่ไปยังลูก (congenital) ได้ แต่ไม่พบวิธีติดต่อแบบนี้ในหนู (mice) และสุนัข การติดต่อถ่ายทอดโรคจากแม่ไปยังลูกจะเกิดเมื่อแม่ติดเชื้อในขณะตั้งท้อง และระยะ tachyzoites จะเคลื่อนตัวเข้าสู่รก การติดต่อโดยผ่านไข่ หรือ จากการถ่ายเลือด เกิดขึ้นได้ แต่โอกาสที่จะเกิดมีน้อยมาก การติดต่อโดยการปลูกถ่ายตัวอ่อน (transplant) เป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงในปัจจุบัน เนื่องจากผู้รับการปลูกถ่ายจะต้องมีการลดภูมิคุ้มกัน (immunosuppressive recipient) ซึ่งถ้าหากได้รับเชื้อเชื้อจะมีการแพร่กระจายหรือเพิ่มจำนวนอย่างไม่มีอะไรควบคุม ระยะ bradyzoites ที่หลุดออกมาจากซีสต์ที่แตก โดยปกติจะถูกทำลายโดยภูมิคุ้มกันของโฮสต์ ซึ่งถ้าไม่มีภูมิคุ้มกันมาควบคุมสภาพดังกล่าว bradyzoites จะเปลี่ยนเป็น tachyzoites และทำให้โรคมีการแพร่กระจายตัวมากขึ้น
            ในโฮสต์ตามธรรมชาติ (definitive host) ได้แก่ แมว ซึ่งปกติจะติดเชื้อจากการกิน bradyzoites ในพวกเนื้อสดที่เป็นโฮสต์กึ่งกลาง หรือติดจากระยะ sporozoites ใน oocysts tachyzoites จะถูกทำลายโดยความเป็นกรด (acidity) และเอนไซม์ของกระเพาะ ดังนั้นแมวจะไม่ค่อยติดปรสิตในระยะนี้จากการกิน  ระยะbradyzoiteหรือ sporozoites จะไชเข้าเซลล์ epithelium ของลำไส้แมว และแบ่งตัวเพิ่มจำนวนอยู่หลาย generation จนกระทั่งตัวเชื้อมีการเปลี่ยนแปลงครบทั้งแบบมีเพศและไม่มีเพศ ระยะแพร่กระจายโรค (patency) จะมีประมาณ 1-2 สัปดาห์ มีน้อยที่จะพบยาวนานกว่านี้ และตามธรรมชาติแล้วโอกาสที่เชื้อจะแพร่กระจายโรคจากโฮสต์ตามธรรมชาติจะเกิดขึ้นได้เพียงครั้งเดียวในชีวิตของมัน แมวจะพัฒนาภูมิคุ้มกันตัวมันเองให้สูงพอที่จะควบคุมการสร้าง oocysts แต่ไม่ได้ทำลายเชื้อทั้งหมด การติดเชื้ออื่น ๆ ภายหลัง เช่น Isospora felis หรือการใช้ยาที่กดภูมิคุ้มกัน อาจจะกระตุ้นรอบใหม่ของการแพร่กระจายเชื้อได้
            ในขณะที่เชื้อเพิ่มจำนวนในลำไส้ ปรสิตอาจจะแพร่กระจายตัวไปยังเนื้อเยื่อหรืออวัยวะ อื่น ๆ ของแมวและทำให้เกิดการติดเชื้อเหมือนที่พบในโฮสต์กึ่งกลางอื่น ๆ ปรสิตที่หลงเหลืออยู่ในลำไส้และเนื้อเยื่อจะคงอยู่ในแมวตลอดชีวิตของมันจะมีประมาณ 1-2 สัปดาห์ มีน้อยที่จะพบยาวนานกว่านี้ และตามธรรมชาติแล้วโอกาสที่เชื้อจะแพร่กระจายโรคจากโฮสต์ตามธรรมชาติ จะเกิดขึ้นได้เพียงครั้งเดียวในชีวิตของมัน แมวจะพัฒนาภูมิคุ้มกันตัวมันเองให้สูงพอที่จะควบคุมการสร้าง oocysts แต่ไม่ได้ทำลายเชื้อทั้งหมด การติดเชื้ออื่น ๆ ภายหลัง เช่น Isospora felis หรือ การใช้ยาที่กดภูมิคุ้มกัน อาจจะกระตุ้นรอบใหม่ของการแพร่กระจายเชื้อได้

            ในขณะที่เชื้อเพิ่มจำนวนในลำไส้ ปรสิตอาจจะแพร่กระจายตัวไปยังเนื้อเยื่อหรืออวัยวะ อื่น ๆ ของแมว และทำให้เกิดการติดเชื้อเหมือนที่พบในโฮสต์กึ่งกลางอื่น ๆ ปรสิตที่หลงเหลืออยู่ในลำไส้ และเนื้อเยื่อจะคงอยู่ในแมวตลอดชีวิตของมัน
            1. ในคน ติดต่อได้โดยการกินอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนด้วยระยะ oocysts ของเชื้อซึ่งแมวถ่ายออกมา หรือการกินเนื้อดิบที่มีซีสต์ของเชื้ออยู่ การติดต่อถ่ายทอดจากแม่ไปยังลูก โดยผ่านทางรกจะเกิดขึ้นเมื่อแม่ได้รับเชื้อและแสดงอาการของโรค
            2.  ในสัตว์ ติดต่อได้จากการได้รับ oocyst ที่ปนเปื้อนในอาหาร หรือ น้ำ oocyst ที่ถูกขับออกมากับอุจจาระพบได้แต่เฉพาะในแมวหรือสัตว์พวกตระกูลแมว ไม่พบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น ๆ หรือสัตว์ปีก

อาการ
ในคน ผู้หญิงที่ท้องอาจแสดงอาการแท้ง หรือทารกตายแรกคลอด อาการของโรค Toxoplasmosis มีความรุนแรงต่าง ๆ กันตั้งแต่ไม่แสดงอาการจนกระทั่งแสดงอาการรุนแรงทั้งนี้ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น ภูมิต้านทานของโฮสต์ ระยะของเชื้อที่ได้รับ และเพศของโฮสต์ เนื่องจากผู้หญิงโดยเฉพาะที่ตั้งครรภ์จะมีความรุนแรงของโรคมากกว่าคนทั่ว ๆ ไป อาการที่พบในคนได้แก่ ปอดบวม สมองอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ผื่นแดงตามผิวหนัง ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียร ชัก ต่อมน้ำเหลืองขยายใหญ่ ตับและม้ามโต ความเสียหายที่เกิดของโรค toxoplasmosis จะขึ้นอยู่กับการทำลายโฮสต์เซลล์มากน้อย เพียงใด ในช่วงที่เชื้อมีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนของระยะ tachyzoites ซึ่งจะสัมพันธ์กับการอักเสบและการตายของเนื้อเยือ (necrosis) การติดเชื้อแบบเรื้อรังจะไม่ทำให้เกิดความเสียหาย ถ้าหาก bradyzoite ไม่ถูกกระตุ้นซ้ำโดยการกดภูมิคุ้มกัน
จากการสำรวจทางซีรั่มพบว่าประชาชนในสหรัฐอเมริกา หรือ อังกฤษติดเชื้อ T. gondii  16-40 % ส่วนประเทศอื่น ๆ ในยุโรป หรือ ลาตินอเมริกา (อเมริกาใต้) ติดเชื้ออยู่ระหว่าง 50-80 % การติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นแบบไม่มีอาการ (asymptomatic) มีเพียงส่วนน้อยที่พบอาการ ได้แก่ มีไข้, การทำงานของระบบน้ำเหลืองผิดปกติไป (lymphadenopathy) และมีกล้ามเนื้ออักเสบ (myositis) มีเพียง 4 % ที่แสดงอาการทางระบบประสาท 14 %แสดงอาการผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจ และ 0.8 % แสดงอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ ในคนที่มีระบบภูมิคุ้มกันบกพร่องเมื่อติดเชื้อ T. gondii มักจะแสดงอาการสมองอักเสบ (encephalitis)
นอกจากนี้ในคนยังพบการเกิดโรค congenital toxoplasmosis ซึ่งมีความรุนแรงมากกว่าแบบอื่น ๆ โดยจะมีผลกับตัวอ่อน ในระยะแรกจะพบกระจายอยู่ทั่วไป แต่หลังจากนั้นจะพบเชื้อในเนื้อเยื่อประสาท ในกรณีที่แม่ติดเชื้อ T. gondii แบบเฉียบพลันพบว่าลูกจะมีโอกาสเกิดมาติดเชื้อ 40 % แสดงอาการอย่างอ่อน ๆ (subclinical) 26 % เกิดโรคอย่างอ่อน ๆ 6 % เกิดโรคอย่างรุนแรง 4 % และลูกตาย (neonate) 3 % เด็กที่เกิดมาและติดเชื้ออย่างรุนแรงจะมีอาการ retinochoroiditis, hydroophalus และ intracerebral calcifications การเกิดโรค congenital toxoplasmosis ในคนพบในสหรัฐอเมริกา ในเด็กทุก ๆ 4,000 คน และในฝรั่งเศสพบทุก ๆ    1,500 คน

         

           
            ในสัตว์ สัตว์ที่เป็นโรคมักไม่แสดงอาการของโรคอย่างเด่นชัด ทั้งนี้อาจะเป็นเพราะสัตว์มีความต้านทานต่อเชื้อสูง สัตว์ที่มักพบเป็นโรค ได้แก่ โค กระบือ แพะ แกะ สุนัข แมว และสัตว์ปีก อัตราการติดโรค Toxoplasmosis พบมีอัตราสูงในสุกร อาการที่พบในสัตว์ได้แก่ อาการไข้ หายใจขัด สมองส่วนกลางเกิดการอักเสบในสัตว์ที่กำลังตั้งท้องพบว่าคลอดก่อนกำหนด แท้ง หรือ ตายแรกคลอด จากการสำรวจทางซีรั่ม พบว่า การติดเชื้อ Toxoplasma พบได้เป็นประจำในคน, แกะ สุกร และแมว ที่พบน้อย คือ ในสุนัขและม้า และไม่ค่อยพบใน cattle อาการต่าง ๆ ของโรคไม่ค่อยพบอย่างชัดเจนในสัตว์แต่ละชนิด แต่จะพบบ่อยในสัตว์อายุน้อย
           


ในแกะ และ แพะ
            แกะและแพะจะไวต่อการติดโรคในขณะเดียวกันก็มีความต้านทานต่อโรคเช่นกัน อาการที่พบบ่อยและเป็นอาการที่สำคัญของโรค ได้แก่ การแท้ง (abortion) และการตายของเด็กหลังจากเกิด (neonatal deaths) การติดเชื้อในตัวอ่อนจะคล้ายกับที่เกิดในคน อัตราการแท้งจะพบสูงถึง 50 %
            ในสุกร
            การเกิดระบาดของโรค จะพบอาการไข้ ปอดบวม (pneumonia) กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (myocarditis) และสมองอักเสบ (encephalitis) ซึ่งอาจพบในลูกสุกร (piglets) อายุต่ำกว่า 12 สัปดาห์ สุกรที่โตเต็มที่อาจจะแสดงอาการเพียง ท้องเสีย, ไอ หรืออาจจะไม่มีอาการที่เด่นชัด อาการทางประสาทบางอย่างอาจพบได้ (incoordination) นอกจากนี้ยังอาจพบ อาการแท้ง หรือ คลอดก่อนกำหนด และลูกสุกรจะติดเชื้อเมื่อคลอดออกมา
            ในแมว
            อาการของโรค toxoplasmosis ยากที่จะตรวจวินิจฉัยได้อย่างชัดเจน อาการที่พบได้แก่ เบื่ออาหาร (anorexia) ทรุดโทรม (lethargy) และปวดบวม แม้ว่าจะพบโรคจากการตรวจทางซีรั่มได้เป็นจำนวนมาก แต่จะไม่มีความสัมพันธ์กับอาการของโรค เนื่องจากสัตว์ไม่ค่อยแสดงอาการของโรคอย่างชัดเจน
            ในสุนัข
            อาการของโรคมี 3 แบบ คือ แบบที่ 1 เกิดโรคแบบทั้งตัว (generalized disease) พบในสัตว์อายุระหว่าง 7-12 เดือน สัตว์จะแสดงอาการไข้, หายใจลำบาก (dyspnea), ท้องเสีย และอาเจียร แบบที่ 2 เกิดโรคที่ระบบประสาทส่วนกลาง (a central nervous system) พบในสุนัขอายุตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป โดยสัตว์จะแสดงอาการ ชัก (seizures) stupor, ataxia, tremors และ unstable gait แบบสุดท้ายพบในระบบประสาทโดยทำให้เกิด radiculoneuritis ในสุนัขที่อายุน้อยกว่า 3 เดือน โดยสัตว์จะแสดงอาการอัมพาต (paresis and paralysis)
            ในม้า
            ม้าเป็นโฮสต์ที่ไวต่อการติดโรค แต่จะใช้เวลานานในการแสดงอาการของโรค ส่วนใหญ่ของสัตว์ป่วยที่มีรายงานแสดงอาการของโรคจะเกี่ยวข้องกับอาการในระบบประสาท ซึ่งอาจจะสับสนกับโรค Sarcocystosis neurona
            ใน cattle
            cattle ไวต่อการติดโรค และใช้เวลานานในการเกิดโรคเช่นเดียวกับในม้า และอาจจะสับสนได้ง่ายกับโรคที่เกิดจาก Neospora spp. ซึ่งมีลักษณะรูปร่างแยกได้ยากจาก Toxoplasma spp.

การตรวจวินิจฉัย

การตรวจวินิจฉัยของการติดปรสิตในทางเดินอาหารในแมว ทำได้โดยการตรวจหาระยะ

unsporulated oocysts ที่มีขนาดเล็ก (10 x 12 ไมครอน) ในอุจจาระ ซึ่งจะไม่สามารถพบได้บ่อยเพราะว่าแมวจะปล่อย oocysts เพียง 1-3 สัปดาห์ ตลอดชีวิตของมันเท่านั้น  ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาการตรวจทางซีรั่มแบบสำเร็จรูปที่มีขายทั่วไป สำหรับการวินิจฉัยโรค toxoplasmosis เช่น indirect Haemagglutination(IHA), latex agglutination, ELISA, indirect fluorescent antibody(IFA) test
            ในโฮสต์กึ่งกลาง สามารถตรวจหาระยะ tachyzoites จากการกดเนื้อเยื่อ (impression) ป้ายและย้อมสี Giemsa หรือ การทำตัดเนื้อเยื่อของต่อมน้ำเหลืองที่ขยายใหญ่ หรือเนื้อเยื่ออื่น ๆ ที่เป็นผลพวงของโรค การวินิจฉัยจริง ๆ โดยทางซีรั่ม การตรวจหา IgM ที่เกิดจากการกระตุ้นของเชื้อ Toxoplasma ในตัวอ่อน แสดงถึงการติดเชื้อของตัวอ่อนเนื่องมาจาก IgM จากแม่จะไม่ผ่านทางรกเข้ามาในตัวลูก
            การติดต่อของโรคแบบ congenital toxoplasmosis จะเกิดต่อเมื่อ tachyzoites แบ่งตัวเพิ่มจำนวนอย่างมากในแม่ในช่วงของการติดเชื้ออย่างเฉียบพลัน ซึ่งเป็นช่วงที่สำคัญของการแพร่กระจายโรคแบบนี้ แต่ไม่พบลักษณะแบบนี้ในหนูและสุนัข การเพิ่มสูงขึ้นถึง 41 เท่าของระดับแอนติบอดีย์ในช่วง 2-4 สัปดาห์เป็นตัวบ่งชี้ของความรุนแรงของการติดเชื้อ
            การติดเชื้อสามารถแสดงให้เห็นได้โดยการใส่เชื้อที่อยู่ในเนื้อเยื่อต่อมน้ำเหลืองของผู้ป่วยในหนูที่ปลอดจากเชื้อ Toxoplasma (Toxoplasma-naïve mice) จะสามารถตรวจพบแอนติบอดีย์ต่อเชื้อ หรืออาจจะพบเชื้ออยู่ใน peritoneal exudate ของหนู ซึ่งแสดงว่าเนื้อเยื่อที่ใส่เข้าไปในหนูมีเชื้อ Toxoplasma อยู่
1.            การตรวจทางซีรั่มวิทยา ได้แก่ Sabin-Feldman dye test, Haemagglutination test,
Indirect Fluorescent Antibody test (IFAT), Complement Fixation test และ ELISA
2.            ฉีดเข้าสัตว์ทดลองและแยกเชื้อ
3.            ตรวจหาเชื้อจาก Biopsy หรือ smear จากของเหลวในร่างกาย
การรักษา
การรักษาที่ได้ผลจริง ๆ ทำได้ยาก เนื่องจากระยะต่าง ๆ ของเชื้อ Toxoplasma gondii มีวงจรชีวิตซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงไปมาระหว่างระยะได้หลายแบบ ยาที่ใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ Clindamycin ขนาด 10-40 มก/กก ในสุนัข หรือขนาด 25-50 มก/กก สำหรับแมว โดยให้ทุกวัน ตั้งแต่ 2 สัปดาห์ขึ้นไป
            ในคนใช้การรักษาด้วย Pyrimethamine และ tri-sulfapyrimidines เป็นเวลาตั้งแต่ 3-4 สัปดาห์ขึ้นไป ควรให้ Folic acid เสริมเพื่อป้องกันการกดไขกระดูกของ pyrimethamine สำหรับยา spiramycin จะใช้ในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ และ atovaquone ใช้ในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (AIDS) ที่มีอาการ toxoplasmic encephalitis ซึ่งอาจจะให้ผลดีในการรักษาในสัตว์

ระบาดวิทยา
สัตว์กินเนื้อ (carnivorus) ได้รับเชื้อของโรค Toxoplasmosis โดยการกินเนื้อที่มีเชื้อระยะ
bradyzoites หรือติดมากับอาหาร หรือน้ำที่ปนเปื้อนด้วยระยะ sporulated oocysts การติดผ่านทางลูก (congenital infections) จะพบในคน และแกะ แต่ไม่ค่อยพบในสัตว์เลี้ยงชนิดอื่น ๆ
            แมวเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญในทางด้านระบาดวิทยาของโรค toxoplasmosis คนส่วนใหญ่จะได้รับเชื้อโดยการกินเนื้อแกะ และเนื้อสุกร ที่ไม่ได้ทำให้สุก และเนื่องจากสัตว์เหล่านี้ไม่ได้เป็นพวก carnivores การติดเชื้อของสัตว์เหล่านี้เกิดจากการได้รับ oocysts ปนเปื้อนไปกับอาหารหรือน้ำเข้าไป ในความเป็นจริงดูเสมือนไม่น่าจะเกี่ยวโยงถึงกันได้ ระหว่างแมวและแกะ แต่การติดต่อดังกล่าวได้เกิดขึ้นจริง ๆ จากการสำรวจในเกาะของประเทศออสเตรเลีย พบว่าในฝูงแกะที่เลี้ยงโดยไม่มีแมวอยู่ใกล้เคียงพบอัตราการติดโรคเพียง 2 % เปรียบเทียบกับฝูงแกะที่มีแมวอยู่ใกล้เคียง พบอัตราการติดโรคสูงถึง 32 %
            จากการศึกษาทางซีรั่มพบว่าแมวในประเทศสหรัฐอเมริกาติดเชื้อ T. gondii 15-40% และในจำนวนนี้มีเพิ่มเล็กน้อยกว่า 1 % ที่สามารถตรวจพบ oocysts แมวจะติดเชื้อส่วนใหญ่จากการล่าเหยื่อ (หนู) โดยจะตรวจพบร่องรอยของโรค หลังจากแมวเริ่มโตพอที่จะล่าหนูหรือเหยื่ออื่น ๆ แมวจะติดเชื้อจากการกินเนื้อที่มีเชื้อมากกว่าที่จะได้รับจากปนเปื้อนของ oocyss แม้ว่าแมวจะปล่อย oocysts เพียง 1-3 สัปดาห์ แต่จำนวนของ oocysts ที่อาจจะสูงถึง 100,000 oocysts ต่ออุจจาระ 1 กรัม จะทำให้สภาพแวดล้อมปนเปื้อนไปด้วยเชื้อ Toxoplasma spp. เนื่องจากแมวเป็นสัตว์ที่ดูแลความสะอาดตัวเองได้ดี การปนเปื้อนบริเวณขนของมัน จึงมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย การอุ้มหรือสัมผัสแมว จึงไม่ได้อันตรายในการได้รับโรคติดต่อจากแมว คนที่เลี้ยงแมวอาจจะอุ้มแมวไปหาสัตวแพทย์เพื่อที่จะถามว่าตัวคนเลี้ยงมีความเสี่ยงเพียงใดในการติดเชื้อจากสัตว์เลี้ยง เนื่องจากระยะแพร่โรคมีอยู่ในช่วงเวลาสั้น ๆ การตรวจอุจจาระอาจจไม่ได้ผลถ้าหากตรวจนอกเหนือจากเวลาแพร่โรคดังกล่าว แต่การตรวจทางซีรั่มจะพบร่องรอยได้ แต่ไม่ได้บ่งบอกว่าโรคนี้กำลังดำเนินการอยู่หรือเคยเป็น ซึ่งไม่ได้แสดงว่าแมวจะปล่อง oocyst อีกไม่ได้ การติดเชื้อจำนวนมากของ I. felis อาจจะเป็นตัวกระตุ้นรอบใหม่ของการแพร่กระจายตัวของเชื้อ Toxoplasma spp.
            oocysts ของ Toxoplasma spp. ค่อนข้างทนทานต่อสภาพแวดล้อม และอาจมีชีวิตอยู่ได้นานหลายเดือนอาจจะถึง 1 ปี ในสภาพแวดล้อมภายนอก เชื้อจะถูกทำลายที่ความร้อนมากกว่า 700C ขึ้นไป น้ำเดือด และสารระลายแอมโมเนีย แต่การกำจัดเชื้อที่ปนเปื้อนอยู่ในสภาพแวดล้อมกระทำได้ยาก

การควบคุมและป้องกัน

การป้องกันการติดเชื้อในแมว ทำได้โดยการควบคุมแมวไม่ให้ออกนอกบ้าน เพื่อป้องกัน

การติดเชื้อจากการจับหนู หรือ กินอาหารที่ปนเปื้อนด้วย oocysts ของเชื้อ Toxoplasma spp. การใช้อาหารเม็ดหรืออาหารกระป๋องเลี้ยงแมวช่วยป้องกันการได้รับเชื้อที่อาจปนมากับอาหารสด การควบคุมาจำนวนแมวข้างถนนจะช่วยลดการปนเปื้อนของเชื้อในสภาพแวดล้อม
            การป้องกันการติดเชื้อในคน ทำได้โดยการทำอาหารให้สุกอย่างน้อยมากกว่า 700C ล้างมือ และเครื่องครัวหลังจากทำอาหารจากเนื้อสัตว์ และล้างด้วยสบู่ ควรทำความสะอาดถาดอุจจาระของแมวทุกวัน (โดยใส่ถุงมือ)เพื่อที่จะกำจัด oocysts ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะติดต่อ โดยใช้น้ำเดือด ผักที่จะกินสด ๆ ควรล้างให้ทั่วเพื่อป้องกันการปนเปื้อน หากจะทำส่วนควรใส่ถุงมือเพื่อป้องกันการได้รับ oocysts ที่อาจพบปนเปื้อนอยู่ตามพื้นดิน ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ควรจะทราบรายละเอียดของโรคนี้ เพื่อลดความเลี่ยงของการติดโรคขณะตั้งท้องจากแมว ดิน และเนื้อสัตว์
            การทำวัคซีนจากตัวเชื้อได้มีการทดลองใช้ในแกะและขายอยู่ในท้องตลาดของประเทศนิวซีแลนด์ (ToxoVac) ในปี ค.. 1989 โดยวัคซีนจะประกอบด้วยชนิดและระยะของเชื้อ Toxoplasma ที่ไม่ทำให้เกิดการสร้าง bradyzoites โดยแม่แกะจะถูกกระตุ้นด้วยเชื้อระยะ tachyzoites ที่ยังมีชีวิตอยู่ (live vaccine) ก่อนที่จะตั้งท้อง ทำให้สัตว์มีการติดเชื้อและเกิดโรคแต่ไม่ได้แสดงอาการ (asymptomatic infection) ขณะเดียวกันที่โฮสต์พัฒนาภูมิคุ้มกันสามารถป้องกันโรคจากการติดเชื้อครั้งต่อไป เมื่อสัตว์เริ่มผสมและตั้งท้อง ภูมิคุ้มกันจะทำลายเชื้อโดยทันที ทำให้เชื้อไม่สามารถรุกรานเข้าตัวอ่อน (fetuses) หรือคนที่บริโภคเนื้อดังกล่าว


โรคสปาร์กาโนซิส (Sparganosis)


โรค Sparganosis เกิดจากตัวอ่อนของพยาธิตัวตืดใน Genus Spirometra (Diphyllobothrium) ซึ่งจะสร้างซีสต์ที่เรียกว่า Spargana อยู่ในกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายคน พยาธิตัวเต็มวัยจะอยู่ในลำไส้ของสุนัข แมว และสัตว์ที่กินเนื้อเป็นอาหาร

การติดต่อ

1.            ในคน ติดได้จากกินเนื้อกบ งู เขียด ที่มีตัวอ่อนระยะติดต่อ (pleurocercoid) ซึ่งจะ
เจริญเป็น sparganum โดยไม่มีการเจริญเติบโตพบในกล้ามเนื้อ หรือในอวัยวะต่าง ๆ ในบางพื้นที่ที่มีความเชื่อในการใช้เนื้อกบ เขียด งู ไปผสมกับยาพอกตามอวัยวะต่าง ๆ เพื่อรักษาโรค ถ้าในเนื้อดังกล่าวมีระยะตัวอ่อนก็อาจจะไชเข้าสู่แผลโดยตรง และเจริญเปลี่ยนแปลงเป็น Sparganum
2.            ในสัตว์ สุนัข และ แมว รวมทั้งสัตว์กินเนื้อชนิดอื่น ๆ จะได้รับตัวอ่อนพยาธิจากการ
กินปลาที่มีตัวอ่อนระยะติดต่อจากนั้นตัวอ่อนเจริญเป็นตัวแก่ในลำไส้

อาการ
1.            ในคน พยาธิระยะตัวอ่อนอาจพบได้ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายคน เช่น เปลือกตา
กล้ามเนื้อคอ ท้อง โคนขา ช่องท้อง บริเวณที่พยาธิอาศัยอยู่จะมีลักษณะบวมแดงและอักเสบ รวมทั้งอาการคันคล้ายกับในกรณีของโรคพยาธิตัวจิ๊ด แต่ว่าอาการปวดเนื่องจาก Sparganum จะเจ็บอยู่กับที่ไม่มีการเคลื่อนที่
2.            ในสัตว์จะมีอาการไม่เด่นชัด เนื่องจากพยาธิตัวเต็มวัยในลำไส้ ทำให้เกิดอาการทั่ว ๆ
ไป เช่น ท้องเสีย สัตว์เจริญเติบโตช้า แคระแกรน และสุขภาพไม่สมบูรณ์
 

การควบคุมและป้องกัน

1.            ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคพยาธิ Sparganosis ต้องเฝ้าระวังในด้านสุขอนามัย
ของประชาชนในการประกอบอาหารจากพวกปลา กบ เขียด และสัตว์เลื้อยคลาน โดยต้องทำให้สุกก่อนนำมารับประทาน และไม่ควรนำเข้าเนื้อสัตว์เหล่านี้ไปผสมทำยาพอกตามร่างกาย เพราะระยะตัวอ่อน sparganum สามารถไชจากเนื้อที่พอกเข้าไปสู่ร่างกายของคนได้
2.            การดื่มน้ำจากแหล่งน้ำจืดต้องต้มหรือกรองเสียก่อน
3.            สุนัขและแมวที่เลี้ยงอยู่ตามบ้านควรตรวจอุจจาระทุก 6 เดือน -  1 ปี เพื่อจะได้กำจัด
พยาธิ และช่วยตัดวงจรการนำโรคมาสู่คนได้ด้วย