โรค capillariasis เกิดจากพยาธิตัวกลมที่เรียกว่า Capillaria philippinensis ซึ่งมีวงจรชีวิตอยู่ในปลาและนก และถ้ามีพยาธิจำนวนมากอาจทำให้คนตายได้ ในประเทศไทยพบได้ในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การติดต่อ
คนติดพยาธิจากการกินปลาดิบโดยตรง โดยเฉพาะอวัยวะภายในของปลา ปลาน้ำจืด
ในประเทศไทยหลายชนิดสามารถนำพยาธิได้ เช่น ปลาหางนกยูง ปลาซิว ปลาไน และปลาตะเพียนขาว โดยปลาเป็นโฮสต์กึ่งกลางของหนอนพยาธิชนิดนี้
อาการ
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้อง ท้องร่วง คลื่นไส้ อาเจียน หมดแรง บวมน้ำ
การรักษา
ใช้ยา Mebendazole ติดต่อกัน 10-15 วันและให้สารน้ำ (fluid therapy) ในรายที่มี
อาการขาดน้ำ (dehydration) หรือ จากอาการท้องร่วงหรืออาเจียนอย่างรุนแรง
การตรวจวินิจฉัย
ตรวจหาระยะตัวอ่อน หรือไข่จากอุจจาระของผู้ป่วย
การควบคุมและป้องกัน
การควบคุมโดยให้ความรู้แก่เกษตรกรในการจับปลา หาปลา และกินปลาให้สุก ไม่กิน
ปลาทั้งดิบ ๆ และควรรีบไปพบแพทย์ ถ้ามีอาการปวดท้องรุนแรง หรือท้องร่วง เพื่อจะได้ป้องกันโรคไม่ให้ลุกลาม
4. โรคพยาธิตัวจิ๊ด (Gnathostrmiosis)
โรคพยาธิตัวจิ๊ดเกิดจากพยาธิ Gnathostoma spinigerum ระยะที่พบในคนอาจเป็นตัวแก่ที่ยังเจริญไม่เต็มวัย ส่วนโฮสต์ตามธรรมชาติ ได้แก่ สุนัข แมว และสัตว์กินเนื้อชนิดอื่น ๆ จะพบพยาธิตัวเต็มวัยอาศัยอยู่ในโพรงเนื้อในกระเพาะอาหารของสัตว์ ตัวพยาธิมีลักษณะส่วนหัวมีหนามแยกออกจากลำตัว ไข่มีรูปร่างรี มีฝาปิดที่ปลายด้านใดด้านหนึ่ง พยาธิตัวอ่อนระยะติดต่อจะอาศัยอยู่ในปลาน้ำจืด กบ ปลาไหล งู และสัตว์ที่หากินในน้ำ
การติดต่อ
1. ในคน ติดโรคโดยการกินอาหารที่มีตัวอ่อนระยะติดต่อ โดยจะพบอยู่ในปลาน้ำจืด
เช่น ปลาช่อน ปลาดุก ปลาตะเพียน ปลาไหล และยังพบในกบ ลูกกบ เขียด สัตว์เลื้อยคลาน เช่น งู กิ้งก่า รวมทั้งนกกินปลา หนู กระรอก กระแต และไก่ อาหารที่มักพบมีการติดพยาธิมากได้แก่ ส้มฟัก ลาบ กบยำ ปลาย่าง ไก่ย่างที่ยังมีเนื้อแดง ๆ อยู่ และปลาดิบ
2. ในสัตว์ โดยการเลี้ยงหรือให้อาหารที่ไม่สุก เช่น เนื้อดิบของปลา ไก่ และกบ แก่สัตว์
เลี้ยง หรือสัตว์ไปแอบกินจากการคุ้ยถังขยะ หรือ การปล่อยสัตว์ให้ออกนอกบ้านตลอดเวลา ทำให้มีโอกาสได้รับโรค พยาธิสูงขึ้น
อาการของโรค
1. ในคน อาการในคนจะมีมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่พยาธิไปอาศัยอยู่ เช่น ถ้า
อยู่ในกล้ามเนื้อใต้ผิวหนังในส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จะพบอาการปวดจิ๊ด ๆ บวมแดงคัน โดยช่วงเวลาของอาการจะนาน 1 วัน ถึง 2 ปี อาการจะเป็น ๆ หาย ๆ โดยจะพบได้ที่หน้าอก ท้อง มือ แขน ขา เท้า นิ้วมือ หน้า คอ อัณฑะ และใบหู ในกรณีที่พบในผนังเยื่อเมือก อาจพบที่ผนังแก้มด้านใน เพดานปาก เหงือก นอกจากนี้ยังอาจพบในระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดอาการไอ มีไข้ และอาการทางปอดอื่น ๆ ในระบบประสาทจะพบในสมองหรือไขสันหลังทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ อาเจียร คอแข็ง มีไข้ อัมพาต
2. ในสัตว์ อาการในสัตว์จะพบน้อยกว่า เนื่องจากพยาธิไม่มีการเคลื่อนที่ ส่วนใหญ่
พยาธิจะทำให้เกิดก้อนเนื้องอกเป็นโพรงโดยจะพบพยาธิอาศัยอยู่ภายใน จากวิกาในผนังกระเพาะอาหาร สัตว์อาจแสดงอาการของโรคกระเพาะอักเสบ เช่น อาเจียน ท้องเสีย และเป็นแบบเรื้อรัง
การตรวจวินิจฉัย
1. จากประวัติของผู้ป่วยที่ชอบกินอาหาร พวกปลาน้ำจืดแบบกึ่งดิบกึ่งสุก โดยจะพบว่า
อาหารที่มีส่วนต่อการนำโรค ได้แก่ ส้มฟัก ลาบดิบ ปลาดุกย่าง กบยำ
2. การทดสอบผิวหนัง เช่น precipitin test
3. ในสุนัข ตรวจหาไข่พยาธิจากอุจจาระ
การควบคุมและป้องกัน
1. ให้ความรู้แก่ประชาชนถึงอันตรายของโรคพยาธิตัวจิ๊ด รวมทั้งวิธีป้องกันตนเองจาก
การติดโรค โดยการไม่รับประทานอาหารที่ทำจากสัตว์ที่อาจเป็นพาหะของโรค
2. กำจัดสุนัขจรจัดที่เป็นโฮสต์ตามธรรมชาติของพยาธิชนิดนี้ และทำให้ความเสี่ยงของ
คนที่จะติดโรคมีเพิ่มมากขึ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น