โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya)
ลักษณะโรค โรคชิคุนกุนยา เป็นโรคติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค มีอาการคล้ายไข้เดงกี แต่ต่างกันที่ไม่มีการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือด จึงไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากจนถึงมีการช็อก
สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา (Chikungunya virus) ซึ่งเป็น RNA Virus จัดอยู่ใน genus alphavirus และ family Togaviridae มียุงลาย Aedes aegypti, Ae. albopictus เป็นพาหะนำโรค
วิธีการติดต่อ ติดต่อกันได้โดยมียุงลาย Aedes aegypti เป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ เมื่อยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้สูง ซึ่งเป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือด เชื้อไวรัสจะเข้าสู่กระเพาะยุง และเพิ่มจำนวนมากขึ้น แล้วเดินทางเข้าสู่ต่อมน้ำลาย เมื่อยุงที่มีเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาไปกัดคนอื่นก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัด ทำให้คนนั้นเกิดอาการของโรคได้
ระยะฟักตัว โดยทั่วไปประมาณ 1-12 วัน แต่ที่พบบ่อยประมาณ 2-3 วัน
ระยะติดต่อ ระยะไข้สูงประมาณวันที่ 2 – 4 เป็นระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือดมาก
อาการและอาการแสดง ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูงอย่างฉับพลัน มีผื่นแดงขึ้นตามร่างกายและอาจมีอาการคันร่วมด้วย พบตาแดง (conjunctival injection) แต่ไม่ค่อยพบจุดเลือดออกในตาขาว ส่วนใหญ่แล้วในเด็กจะมีอาการไม่รุนแรงเท่าในผู้ใหญ่ ในผู้ใหญ่อาการที่เด่นชัดคืออาการปวดข้อ ซึ่งอาจพบข้ออักเสบได้ ส่วนใหญ่จะเป็นที่ข้อเล็กๆ เช่น ข้อมือ ข้อเท้า อาการปวดข้อจะพบได้หลายๆ ข้อเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ (migratory polyarthritis) อาการจะรุนแรงมากจนบางครั้งขยับข้อไม่ได้ อาการจะหายภายใน 1-12 สัปดาห์ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดข้อเกิดขึ้นได้อีกภายใน 2-3 สัปดาห์ต่อมา และบางรายอาการปวดข้อจะอยู่ได้นานเป็นเดือนหรือเป็นปี ไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงถึงช็อก ซึ่งแตกต่างจากโรคไข้เลือดออก อาจพบ tourniquet test ให้ผลบวก และจุดเลือดออก (petichiae) บริเวณผิวหนังได้
ความแตกต่างระหว่างDF/DHF กับการติดเชื้อ chikungunya
1. ใน chikungunya มีไข้สูงเกิดขึ้นอย่างฉับพลันกว่าใน DF/DHF คนไข้จึงมาโรงพยาบาลเร็วกว่า
2. ระยะของไข้สั้นกว่าในเดงกี ผู้ป่วยที่มีระยะไข้สั้นเพียง 2 วัน พบใน chikungunya ได้บ่อยกว่าใน DF/DHF โดยส่วนใหญ่ไข้ลงใน 4 วัน
3. ถึงแม้จะพบจุดเลือดได้ที่ผิวหนัง และการทดสอบทูนิเกต์ให้ผลบวกได้ แต่ส่วนใหญ่จะพบจำนวนทั้งที่เกิดเองและจากทดสอบน้อยกว่าใน DF/DHF
4. ไม่พบ convalescent petechial rash ที่มีลักษณะวงขาวๆใน chikungunya
5. พบผื่นได้แบบ maculopapular rash และ conjunctival infection ใน chikungunya ได้บ่อยกว่าในเดงกี
6. พบ myalgia / arthralgia ใน chikungunya ได้บ่อยกว่าในเดงกี
7. ใน chikungunya เนื่องจากไข้สูงฉับพลัน พบการชักร่วมกับไข้สูงได้ถึง 15% ซึ่งสูงกว่าในเดงกีถึง 3 เท่า
ระบาดวิทยาของโรค การติดเชื้อ Chikungunya virus เดิมมีรกรากอยู่ในทวีปอาฟริกา ในประเทศไทยมีการตรวจพบครั้งแรกพร้อมกับที่มีไข้เลือดออกระบาดและเป็นครั้งแรกในทวีปเอเชีย เมื่อ พ.ศ. 2501 โดย Prof.W McD Hamnon แยกเชื้อชิคุนกุนยา ได้จากผู้ป่วยโรงพยาบาลเด็ก กรุงเทพมหานคร
ในทวีปอาฟริกามีหลายประเทศพบเชื้อชิคุนกุนยา มีการแพร่เชื้อ 2 วงจรคือ primate cycle (rural type) (คน-ยุง-ลิง) ซึ่งมี Cercopithicus monkeys หรือ Barboon เป็น amplifyer host และอาจทำให้มีผู้ป่วยจากเชื้อนี้ประปราย หรืออาจมีการระบาดเล็กๆ (miniepidemics) ได้เป็นครั้งคราว เมื่อมีผู้ที่ไม่มีภูมิคุ้มกันเข้าไปในพื้นที่ที่มีเชื้อนี้อยู่ และคนอาจนำมาสู่ชุมชนเมือง โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มียุงลายชุกชุมมาก ทำให้เกิด urban cycle (คน-ยุง) จากคนไปคน โดยยุง Aedes aegypti และ Mansonia aficanus เป็นพาหะ
ในทวีปเอเซีย การแพร่เชื้อต่างจากในอาฟริกา การเกิดโรคเป็น urban cycle จากคนไปคน โดยมี Ae. aegypti เป็นพาหะที่สำคัญ ระบาดวิทยาของโรคมีรูปแบบคล้ายคลึงกับโรคติดเชื้อที่นำโดย Ae. aegypti อื่นๆ ซึ่งอุบัติการของโรคเป็นไปตามการแพร่กระจายและความชุกชุมของยุงลาย หลังจากที่ตรวจพบครั้งแรกในประเทศไทย ก็มีรายงานจากประเทศต่างๆ ในทวีปเอเชีย ได้แก่ เขมร เวียตนาม พม่า ศรีลังกา อินเดีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
โรคนี้จะพบมากในฤดูฝน เมื่อประชากรยุงเพิ่มขึ้นและมีการติดเชื้อในยุงลายมากขึ้น พบโรคนี้ได้ในทุกกลุ่มอายุ ซึ่งต่างจากไข้เลือดออกและหัดเยอรมันที่ส่วนมากพบในผู้อายุน้อยกว่า 15 ปี ในประเทศไทยพบมีการระบาดของโรคชิคุนกุนยา 6 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2531 ที่จังหวัดสุรินทร์ พ.ศ. 2534 ที่จังหวัดขอนแก่นและปราจีนบุรี ในปี พ.ศ. 2536 มีการระบาด 3 ครั้งที่จังหวัดเลย นครศรีธรรมราช และหนองคาย
การรักษา ไม่มีการรักษาที่จำเพาะเจาะจง (specific treatment) การรักษาเป็นการรักษาแบบประคับประคอง (supportive treatment) เช่นให้ยาลดอาการไข้ ปวดข้อ และการพักผ่อน
เอกสารอ้างอิง
1. สุจิตรา นิมมานนิตย์. Chikungunya Infection . ใน : ศิริศักดิ์ วรินทราวาท, คำนวณ อึ้งชูศักดิ์, ชไมพันธ์ สันติกาญจน์, นฤมล ศิลารักษ์, ประวิทย์ ชุมเกษียร, องอาจ เจริญสุข, และคณะ, บรรณาธิการ. รายงานการเฝ้าระวังโรคประจำสัปดาห์. ปีที่ 27 ฉบับที่7. 16 กุมภาพันธ์ 2539 กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2539. หน้า 77- 87
2. ลักขณา ไทยเครือ, องอาจ เจริญสุข, สุนทร เหรียญภูมิการกิจ, ประเสริฐ ดิษฐสมบูรณ์, รัศมี ผลจันทร์, อนันต์ นิสาลักษณ์. โรค Chikungunya ในประเทศไทยและการสอบสวนและศึกษาโรค จังหวัดหนองคาย พ.ศ. 2538-2540 กองระบาดวิทยา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข, ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมแพทย์ทหารบก. เอกสารอัดสำเนา
3. สุนทร เหรียญภูมิการกิจ. รายงานการสอบสวนไข้ออกผื่น ปวดข้อ อำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย วันที่ 1 มิถุนายน ถึง 11 สิหาคม 2538 กองระบาดวิทยา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. พ.ศ. 2538. เอกสารอัดสำเนา
4. ลักขณา ไทยเครือ, องอาจ เจริญสุข. โรค Chikungunya : โรคติดเชื้อที่กลับมาเป็นปัญหาใหม่จริงหรือ?. ใน : ศิริศักดิ์ วรินทราวาท, คำนวณ อึ้งชูศักดิ์, ชไมพันธ์ สันติกาญจน์, นฤมล ศิลารักษ์, ประวิทย์ ชุมเกษียร, องอาจ เจริญสุข, และคณะ, บรรณาธิการ. รายงานการเฝ้าระวังโรคประจำสัปดาห์. ปีที่ 27 ฉบับที่16 19 เมษายน 2539 กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2539. หน้า 193- 203
5. ลักขณา ไทยเครือ, องอาจ เจริญสุข. โรค Chikungunya : โรคติดเชื้อที่กลับมาเป็นปัญหาใหม่จริงหรือ. ใน : ศิริศักดิ์ วรินทราวาท, คำนวณ อึ้งชูศักดิ์, ชไมพันธ์ สันติกาญจน์, นฤมล ศิลารักษ์, ประวิทย์ ชุมเกษียร, องอาจ เจริญสุข, และคณะ, บรรณาธิการ. รายงานการเฝ้าระวังโรคประจำสัปดาห์ กองระบาดวิทยา ปีที่ 27 ฉบับที่17 26 เมษายน 2539 กรุงเทพมหานคร: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2539. หน้า 205- 218
การเฝ้าระวังโรค Chikungunya
1. นิยามในการเฝ้าระวังโรค (Case Definition for Surveillance)
1.1 เกณฑ์ทางคลินิก (Clinical Criteria)
มีไข้สูง ร่วมกับ อาการอย่างน้อยหนึ่งอาการ ดังนี้
· มีผื่น
· ปวดกล้ามเนื้อ
· ปวดกระดูกหรือข้อ
· ปวดศีรษะ
· ปวดกระบอกตา
· มีเลือดออกตามผิวหนัง
1.2 เกณฑ์ทางห้องปฏิบัติการ (Laboratory Criteria)
· ทั่วไป
§ Complete Blood Count (CBC)
¨ อาจมีจำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำ
¨ เกล็ดเลือดปกติ ซึ่งสามารถแยกจากไข้เดงกีได้
· จำเพาะ
§ ตรวจพบแอนติบอดีจำเพาะต่อเชื้อในน้ำเหลืองคู่ (paired sera) ด้วยวิธี Haemagglutination Inhibition (HI) ³ 4 เท่า หรือ ถ้าน้ำเหลืองเดี่ยวนั้น ต้องพบภูมิคุ้มกัน > 1: 1,280 หรือ
§ ตรวจพบภูมิคุ้มกันชนิด IgM โดยวิธี ELISA หรือ
§ ตรวจพบเชื้อได้จากเลือด โดยวิธี PCR หรือการแยกเชื้อ (culture)
2. ประเภทผู้ป่วย (Case Classification)
2.1 ผู้ป่วยที่สงสัย (Suspected case) หมายถึงผู้ที่มีอาการตามเกณฑ์ทางคลินิก ได้แก่ ไข้ ออกผื่น ปวดข้อ
2.2 ผู้ป่วยที่เข้าข่าย (Probable case) หมายถึง ผู้ที่มีอาการตามเกณฑ์ทางคลินิก และ มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
· มีผลการตรวจเลือดทั่วไป
· มีผลการเชื่อมโยงทางระบาดวิทยากับผู้ป่วยรายอื่นๆที่มีผลการตรวจยืนยันทางห้องปฏิบัติการจำเพาะ
2.3 ผู้ป่วยที่ยืนยันผล (Confirmed case) หมายถึง ผู้ที่มีอาการตามเกณฑ์ทางคลินิก และ มีผลตามเกณฑ์ทางห้องปฏิบัติการจำเพาะ
3. การรายงานผู้ป่วยตามระบบเฝ้าระวังโรค รง.506 (Reporting Criteria)
ให้รายงานผู้ป่วยที่เข้าข่าย (Probable case) และผู้ป่วยที่ยืนยันผล (Confirmed case) โดยรายงานในช่องอื่นๆ ของรายการโรคในบัตรรายงาน 506
4. การสอบสวนโรค (Epidemiological Investigation)
4.1 สอบสวนเฉพาะราย (Individual Case Investigation) เมื่อมีรายงานผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้กับนิยามโรค Chikungunya ให้สอบสวนโรค ยืนยันการวินิจฉัย ค้นหาแหล่งติดเชื้อ และควบคุมโรค
4.2สอบสวนการระบาด (Outbreak Investigation) เมื่อมีรายงานผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้กับนิยามโรค Chikungunya โดยเกิดโรคเป็นกลุ่ม (cluster) ให้สอบสวนโรค ยืนยันการวินิจฉัย/การระบาด หาสาเหตุและระบาดวิทยาของการระบาด และควบคุมโรค
ดำเนินการเฝ้าระวังและสอบสวนโรคดังนี้
- เฝ้าระวังผู้ที่มีอาการไข้สูง ร่วมกับ อาการอย่างน้อยหนึ่งอาการ ดังนี้ มีผื่น ปวดกล้ามเนื้อ ปวดกระดูกหรือข้อ ปวดศีรษะ ปวดกระบอกตา มีเลือดออกตามผิวหนัง แนะนำให้ไปรับการรักษาเพื่อได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ (อาการนำของโรค Chikungunya จะคล้ายโรคไข้เลือดออกหรือโรคหัดเยอรมัน อาจทำให้วินิจฉัยโรคผิดพลาด และไม่ทราบว่ามีโรคนี้เกิดขึ้นในพื้นที่ จึงต้องสังเกตลักษณะทางระบาดวิทยาของโรค ที่จะพบได้ทุกกลุ่มอายุและอาการปวดข้อที่เด่นชัด ซึ่งแตกต่างจากโรคไข้เลือดออก ควรแยกโรคนี้กับโรคไข้ออกผื่นอื่น ๆ เช่น หัดเยอรมัน ซึ่งไม่เป็นทุกกลุ่มอายุ และมักจะระบาดในช่วงต้นฤดูหนาว) รายงานผู้ป่วยให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด สำนักระบาดวิทยา และสำนักงานป้องกันควบคุมโรค ทราบ
- สอบสวนโรคเพื่อหาผู้ป่วยเพิ่ม แหล่งติดเชื้อ ปัจจัยเสี่ยง ป้องกันและควบคุมโรค โดย
-ค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติม โดยใช้นิยามผู้ป่วย ตามที่กล่าวแล้วข้างบน(จากหนังสือ นิยามโรคติดชื้อ ประเทศไทย, กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2546 จัดทำโดย สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข)
- ค้นหาแหล่งติดเชื้อ จากการสอบถามประวัติเดินทางหรือการอยู่อาศัย เป็นระยะเวลาเท่ากับระยะฟักตัวของโรค ก่อนวันเริ่มป่วย
- สอบสวนหาปัจจัยเสี่ยงคือ ความชุกชุมยุงลาย
- ป้องกันและควบคุมโรคเช่นเดียวกับโรคไข้เลือดออก
การเก็บตัวอย่างและการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจเพื่อยืนยันการติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา มีหลายวิธีดังนี้
1.การแยกเชื้อไวรัสจากซีรั่ม
2.การตรวจทางน้ำเหลืองมีการตรวจหลายวิธีเช่น ELISA, Haemagglutination–inhibition test
การแยกเชื้อไวรัส
เก็บตัวอย่างโลหิตโดยเจาะจากเส้นโลหิตดำที่แขนประมาณ 5 มิลลิลิตร ใส่ในหลอดที่ปราศจากเชื้อ ทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องประมาณ 15 – 30 นาที แช่น้ำแข็งหรือเก็บไว้ในตู้เย็นธรรมดา (ห้ามแช่แข็ง) นำส่งห้องปฏิบัติการภายใน 24 ชั่วโมง หรือในกรณีที่มีตู้แช่แข็ง -70 0C หรือ liquid nitrogen หรือ dry ice สามารถแยก serum จาก blood clot เก็บไว้เพื่อนำส่งห้องปฏิบัติการภายหลัง โดยนำส่งในน้ำแข็งแห้ง หรือใน liquid nitrogen ภายใน 2 – 3 วัน
การตรวจทางน้ำเหลือง
น้ำเหลืองประมาณ 1 – 2 มิลลิลิตร เก็บ 2 ครั้ง ห่างกัน 7-14 วัน ครั้งที่ 1 ในวันที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษา ครั้งที่ 2 ห่างจากครั้งที่ 1 ประมาณ 7-14 วัน
การเก็บตัวอย่าง
เจาะเลือดจากหลอดเลือดดำโดยวิธีการปลอดเชื้อ ประมาณ 3-5 มิลลิลิตร ใส่หลอดแก้วที่ปลอดเชื้อ ปั่นแยกเฉพาะน้ำเหลืองใส่ในหลอดที่ปลอดเชื้อ ปิดจุกและพันด้วยพาราฟิล์มหรือเทปให้แน่น ปิดฉลากเขียนชื่อนามสกุลผู้ป่วย วันที่เจาะเก็บเลือด และการตรวจทางน้ำเหลืองวิทยาที่ต้องการ จากนั้นเก็บน้ำเหลืองดังกล่าวไว้ที่ 4 องศาเซลเซียส หรือในช่องแช่แข็งของตู้เย็นรอจนได้ตัวอย่างที่ 2 แล้วจึงส่งพร้อมกัน
การนำส่งตัวอย่าง
การส่งตัวอย่างมาที่ห้องปฏิบัติการให้ใส่ถุงพลาสติกแยกเป็นรายๆ รัดยางให้แน่น แช่ในกระติกน้ำแข็ง ส่งทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษพร้อมแบบส่งตัวอย่างไปที่ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
เอกสารอ้างอิง
1. สุรภี อนันตปรีชา . การเก็บตัวอย่างและการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ. คู่มือมาตรฐานการเฝ้าระวังและสอบสวนโรคติดต่อนำโดยแมลง สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2546 เอกสารในโครงการทดลองรูปแบบมาตรฐานการดำเนินงานเฝ้าระวังและสอบสวนทางระบาดวิทยาโรคติดต่อ . หน้า 137-139.
แบบส่งตัวอย่างตรวจโรคไข้ปวดข้อออกผื่นชิคุนกุนยา (Chikungunya infection)
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ถนนติวานนท์ อำเภอเมืองนนทบุรี 11000 โทร. 0-2589-9850-8, 0-2951-0000 แฟกซ์ 0-2951-1498
ชื่อ………………………………………เพศ…………..อายุ………….ปี…………เดือน H.N………………….
ที่อยู่เลขที่………….ซอย…………………………ถนน……………………………...หมู่ที่……………………….
ตำบล / แขวง ……………………อำเภอ / เขต ……………………………จังหวัด………………………………...
รับการรักษาที่ ร.พ…………………………..ตำบล…………………….อำเภอ…………………..จังหวัด…………………
วัน/เดือน/ปี ที่เริ่มป่วย……………………………………..วัน/เดือน/ปี ที่รับไว้…………………………………….
วัน/เดือน/ปี ที่จำหน่าย……………………………………..
การวินิจฉัย : ( ) ไข้ปวดข้อออกผื่นชิคุนกุนยา ( ) อื่นๆ……………………………………………..(โปรดระบุ)
อาการและการตรวจพบ :
1. ไข้ วัน/เดือน/ปี ที่เริ่มเป็นไข้ …………………….เป็นมา……………วัน
วัน/เดือน/ปี ที่ไข้ลด…………………………………
2. อาการเลือดออก
2.1 Tourniquet ( ) ไม่ได้ทำ ( ) positive..…จุด/Inch2 ( ) negative (วัน/เดือน/ปี ที่ทำ……….….)
2.2 อาการเลือดออกที่ผิวหนัง ( ) petechiae ( ) ecchymoses
2.3 ( ) เลือดกำเดาออก 2.4 ( ) เลือดออกจากเหงือก 2.5 ( ) อาเจียนเป็นเลือด
2.6 ( ) ถ่ายเป็นเลือด 2.7 ( ) อื่นๆ (โปรดระบุ)………………………….
3. ตับ ( ) โต ขนาด……………ซม. ( ) คลำไม่พบ ( ) กดเจ็บ
4. ( ) ปวดข้อ
5. อาการและการแสดงอื่นๆ (Unusual manifestation) ……………………………………….
6. การตรวจทางปัสสาวะ ( ) โปรตีน……………………..( ) เลือด……………………..
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
CBC : วัน/เดือน/ปี ที่ตรวจ…………………………………..
เม็ดเลือดขาว..…../ลบ.มม., Hct…..%, PMN……%, L……% Atyp. Lymph……….% อื่นๆ……….
Platelet counts แรกรับ………/ลบ.มม. สูงสุด………/ลบ.มม . ต่ำสุด………/ลบ.มม.
Hematocrit แรกรับ…………….% สูงสุด………% ต่ำสุด………%
|
วัน/เดือน/ปี ที่เจาะเลือด เพื่อส่งตรวจทาง Serology
ครั้งที่ 1 ………………..ครั้งที่ 2 ………………..
ชื่อแพทย์ผู้รักษา………………………………………………
ชื่อและที่อยู่ของผู้ต้องการให้ส่งผล
ชื่อ-สกุล………………………………………………………
ที่อยู่ …………………………………………………………………
………………………………………………………………..
ข้อแนะนำวิธีการเก็บและการส่งตัวอย่างตรวจโรคไข้ปวดข้อออกผื่นชิคุนกุนยา
เจาะเลือดครั้งที่หนึ่ง ในวันที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษา
เจาะเลือดครั้งที่สอง ห่างจากครั้งแรก 7-14 วัน
วิธีการเก็บน้ำเหลืองจากหลอดเลือดดำ
เจาะเลือดจากหลอดเลือดดำโดยวิธีการปลอดเชื้อ ประมาณ 3 - 5 มล. ใส่หลอดแก้วที่ปลอดเชื้อปั่นแยกเฉพาะน้ำเหลืองใส่ในหลอดที่ปลอดเชื้อปิดจุกและพันด้วยพาราฟิล์มหรือเทปให้แน่น ปิดฉลากเขียนชื่อนามสกุลผู้ป่วย วันที่เจาะเก็บเลือด และระบุการตรวจทางน้ำเหลืองวิทยาที่ต้องการ จากนั้นเก็บน้ำเหลืองดังกล่าวไว้ ในช่องแช่แข็งของตู้เย็นรอจนได้ตัวอย่างที่ 2 แล้วจึงส่งพร้อมกัน
วิธีการเก็บตัวอย่างโดยใช้กระดาษซับเลือดมาตรฐาน
เจาะเลือดจากปลายนิ้วแตะเลือดบนกระดาษซับเลือดส่วน ก. หรือถ้าเจาะเลือดเพื่อการอื่นอยู่แล้วก็หยดเลือดลงบนกระดาษส่วน ก. ให้เลือดซึมจนชุ่มทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ทิ้งไว้ให้แห้งที่อุณหภูมิห้อง
ก
กระดาษที่ซับเลือดแล้วอย่าให้ถูกแดด หรือเก็บในที่ร้อน และไม่ควรเก็บไว้นานเกิน 1 เดือน
ข้อจำกัดในการเก็บตัวอย่างด้วยกระดาษซับเลือดมาตรฐาน
1. กระดาษซับเลือดมีราคาสูง (ประมาณ 10 บาท/แผ่น)
2. การเก็บกระดาษที่ซับแล้วไว้นานเกิน 1 เดือน จะมีผลให้ปริมาณแอนติบอดีลดลง ซึ่งอาจทำให้ผลการตรวจผิดพลาดได้ นอกจากนี้ยังไม่สามารถสกัดเลือดที่ถูกซับในกระดาษออกมาได้
3. ไม่สามารถตรวจซ้ำได้ในรายงานที่ให้ผลกำกวม เนื่องจากน้ำเหลืองที่สกัดจากระดาษซับเลือดมีปริมาณน้อย
ข้อแนะนำ ควรส่งตัวอย่างตรวจเป็นน้ำเหลือง เพื่อผลการตรวจที่ถูกต้อง เป็นประโยชน์ต่อแพทย์และผู้ป่วย
วิธีการนำส่งตัวอย่าง
1) ตัวอย่างน้ำเหลือง
การส่งมาที่ห้องปฏิบัติการให้นำหลอดตัวอย่างใส่ถุงพลาสติกแยกเป็นรายๆ รัดยางให้แน่น แช่ในกระติกน้ำแข็ง ส่งพร้อมแบบส่งตัวอย่างนำไปส่งที่ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข หรือส่งตัวอย่างทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษ
2) ตัวอย่างที่เก็บโดยใช้กระดาษซับเลือดมาตรฐาน
กลัดติดกับใบประวัติ ส่งไปที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น