วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

โรคเมลิอยโดซิส (Melioidosis) หรือโรคมงคล่อเทียม


โรค Melioidosis หรือเรียกว่าโรคมงคล่อเทียม เนื่องจากมีอาการคล้ายโรคมงคล่อพิษ (glanders) ที่เกิดจากเชื้อในกลุ่มเดียวกัน สาเหตุเกิดจากเชื้อ Pseudomonas pseudomallei ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียชนิด Bacillus ติดสีแกรมลบและเชื้อมีการสร้าง endotoxin เชื้อชนิดนี้มักพบในดินและน้ำ โดยเฉพาะดินที่มีลักษณะชื้นแฉะ มีน้ำท่วมขังคล้ายหนองบึง หรือบริเวณแปลงนา เชื้อสามารถอยู่ได้นานในน้ำดินและอุจจาระ ได้อย่างน้อย 1 เดือน

การติดต่อของโรค
1.            ในคน สามารถติดต่อได้ทางผิวหนังและการหายใจ ปกติโรคนี้พบไม่บ่อยในคนและไม่
ค่อยมีอาการรุนแรงถึงตาย
2.            ในสัตว์ เชื้อเข้าสู่ร่างกายโดยการกิน ทางบาดแผล และการหายใจทำให้เกิดโรคใน
สัตว์ได้หลายชนิด เช่น โค สุกร แพะ แกะ ม้า สุนัข แมว สัตว์ฟันแทะและสัตว์ป่าหลายชนิด การเกิดโรคในสัตว์มีทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง มักจะทำให้สัตว์ตายและไม่ค่อยตอบสนองต่อการรักษา

อาการของโรค
1.            อาการในคน อาจพบอาการ septicotoxemia โดยเริ่มแรกมีอาการหนาวสั่น มีไข้
กระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบรุนแรง ผู้ป่วยอาจตายได้ใน 2-4 วัน หรือมีอาการแบบ subacute โดยจะพบอาการทางผิวหนัง โลหิตเป็นพิษและปอดบวม (pneumonia) ส่วนแบบเรื้อรังจะพบเป็นฝี (abscess) ตามต่อมต่าง ๆ ของร่างกาย นอกจากนี้ยังอาจพบแบบไม่แสดงอาการแต่อาจตรวจพบแอนติบอดีย์ในเลือด โรค Melioidosis มีอาการคล้ายกับโรคติดเชื้ออื่น ๆ ทำให้วินิจฉัยแยกจากอาการได้ยาก ต้องยืนยันด้วยการตรวจหาเชื้อ P. pseudomallei
2.            อาการในสัตว์ จะพบทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง โดยแบบเฉียบพลันจะพบอาการไข้
ซึม อาการทางระบบทางเดินหายใจแบบเรื้อรัง จะพบลักษณะของฝี (abscess) ที่ อัณทะ (testes) และในส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย รวมทั้งมีอาการทางประสาทร่วม


การตรวจวินิจฉัย

1.            ตรวจหาแอนติบอดีย์ด้วยวิธี IHA (Indirect Haemagglutination test) หรือ indirect
Fluorescent antibody test
2.            ตรวจหาเชื้อจากสารคัดหลั่งหรือจากฝี

การรักษา

            ยาปฏิชีวนะในกลุ่ม Oxytetracycline หรือ Pennicillin และ Streptomycin ให้ผลปานกลางในการลดอาการ แต่ส่วนใหญ่เชื้อจะไม่ค่อยตอบสนองต่อยาและเนื่องจากเป็นโรคสัตว์สู่คน จึงไม่ควรเก็บ สัตว์ที่มีเชื้อและให้ผลบวกต่อเชื้อ P. pseudomallei ควรคัดและทำลายทิ้ง

การควบคุมและป้องกันโรค

            เชื้อ P. pseudomallei พบได้ทั่วไปตามพื้นดินและน้ำ การควบคุมและป้องกัน โดยการตรวจหาสัตว์ที่อาจเป็นพาหะหรือตัวเก็บกักโรค เช่น หนู กระต่าย แมว สุนัข แพะ แกะ สุกร โค กระบือ ม้า ลิง นกและสัตว์ป่าหลายชนิด สัตว์ป่วยที่มักพบโรคระบาดเป็นครั้งคราว ได้แก่ แพะ แกะ และสุกร โดยจะพบอาการเดินโขยกเขยก หรือมีอาการทรงตัวไม่ดี โดยมักจะพบฝีเกิดขึ้นตามต่อมน้ำเหลือง ม้ามและปอด มีอาการไอ มีน้ำมูกและอาจมีไข้ หรือมีอาการประสาทร่วมด้วย การป้องกันโรคในคน ทำได้โดยใช้สุขศาสตร์ส่วนบุคคล เมื่อเวลามีแผลรักษาความสะอาด ใส่รองเท้าเมื่อต้องเดินสัมผัสดินหรือพื้นทั่วไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น