วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

โรคไข้หวัดนก


โรคไข้หวัดนก
20 ปีที่ผ่านมา โลกได้เกิดโรคใหม่ที่เกิดจากเชื้อไวรัสได้แก่ Hantavirus SARS monkeypox และไข้หวัดนก เชื้อโรคที่มีแนวโน้มที่จะระบาดไปทั่วโลกได้แก่ เชื้อไข้หวัดนก H5N1
ไข้หวัดนกที่ระบาดเมื่อ 2 ปีก่อนหน้านี้ได้กลับมาระบาดอีกครั้ง การแพร่กระจายของเชื้อโรคได้กระจายไปทั่วโรคทำให้เกิดการตระหนกไปทั่วโลก หลายๆประเทศได้มีการเตรียมแผนปฏิบัติการทั้งก่อนเกิดการระบาดและขณะระบาด สำหรับประเทศไทยก็มีการจัดการร่างแผนการแก้ไข แต่เนื่องจากประสบการณ์ในการควบคุมโรคครั้งแรกล่าช้าทำให้เชื้อกระจายทั่วประเทศ ไทยคงได้ประสบการณ์จากการควบคุมไข้หวัดนกและไข้หวัดซาร์เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของไข้หวัดนก สำหรับประชาชนคนไทยคงจะต้องเรียนรู้และช่วยตัวเองให้มากที่สุด ผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์ทั้งตัวเอง ครอบครัวและประเทศของเรา
เชื้อไข้หวัดนกคืออะไร avian influenza
เชื้อไข้หวัดนกเป็นเชื้อไวรัสโดยธรรมชาติจะี่ติดต่อในนกเท่านั้น โดยเฉพาะนกป่า นกเป็ดน้ำจะเป็นพาหะของโรค เชื้อจะอยู่ในลำไส้โดยที่ตัวนกไม่มีอาการ เมื่อนกป่าเหล่านี้อพยพไปก็จะนำเชื้อนั้นไปด้วย เมื่อสัตว์อื่น เช่นไก่ เป็ด หมูเมื่อไก่หรือสัตว์เลี้ยงอื่นได้รับเชื้อไข้หวัดนกจะเกิดอาการสองแบบคือ
1.             หากได้รับเชื้อชนิดไม่รุนแรง low pathogenic สัตว์เลี้ยงนั้นอาจจะมีอาการไม่มากและหายได้เอง
2.             หากเชื้อที่ได้รับมีความรุนแรงมาก highly pathogenic ก็จะทำให้สัตว์เลี้ยงตายหมดโดยมากภายใน 2 วัน
คนจะติดเชื้อไข้หวัดนกจากนกหรือไม่
ยังไม่มีรายงานว่าคนติดไข้หวัดนกจากนก
ผลกระทบของการระบาดไข้หวัดนกในไก่ต่อสุขภาพของคน
การระบาดของเชื้อไข้หวัดนกH5N1ในไก่ ส่งผลต่อสุขภาพของคนสองประการได้แก่
1.             มีการติดเชื้อไข้หวัดนกจากไก่สู่คนซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายคนจากการระบาดครั้งที่แล้ว
2.             การกลายพันธ์ของเชื้อH5N1ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อจากคนสู่คนเกิดการระบาดไปทั่วโลก
ประเทศที่มีการระบาดของเชื้อ H5N1สู่คน
การระบาดของเชื้อไข้หวัดนกสู่คนมีหลายประเทศดังนี้
  • กัมพูชา
  • เวียดนาม
  • ลาว
  • อินโดนีเซีย
  • ไทย
ส่วนฮ่องกงเคยระบาดเมื่อปี 1997
คนติดไข้หวัดนกได้อย่างไร
เมื่อนกป่าหรือนกน้ำมาอาศัยก็จะถ่ายอุจาระที่มีเชื้อโรค สัตว์เลี้ยงเช่นไก่เมื่อได้รับเชื้อโรคก็จะเกิดการติดเชื้อ ซึ่งสามารถแพร่สู่คนได้ เมื่อไก่ตายหรือป่วยก็จะมีการนำไก่เหล่านั้นไปบริโภคทำให้เกิดการติดเชื้อไข่หวัดนกจากไก่ การติดต่อมักจะเกิดขณะการเชือดไก่ การถอนขนไก่ การทำความสะอาดเครื่องในไก่
เชื้อไข้หวัดนกมักจะติดต่อระหว่างสัตว์ปีกแต่ก็สามารถติดต่อระหว่างนกสู่คนโดยเฉพาะสายพันธ์ H5N1คนจะได้รับเชื้อทาง
  • สัมผัสโดยตรงจากไก่ที่ป่วยเป็นโรค โดยสัมผัสเสมหะ หรือสารคัดหลั่ง
  • สัมผัสกับอุจาระของสัตว์ที่เป็นโรค
  • พื้นดินที่มีเชื้อโรคอยู่
มีโอกาศที่เชื้อ H5N1จะระบาดทั่วโลก
การที่เชื้อไข้หวัดนก H5N1จะระบาดทั่วโลกต้องมีปัจจัยสามประการได้แก่
1.             มีการเชื้อโรคชนิดใหม่
2.             เชื้อก่อให้เกิดโรครุนแรงในคน
3.             เชื้อนั้นสามารถติดต่อจากคนสู่คน
สำหรับเชื้อไข้หวัดนกมีองค์ประกอบเพียงสองข้อ ยังขาดการระบาดจากคนสู่คน อย่างไรก็ตามหากยังมีการระบาดของไข้หวัดนกในไก่ยังคงมีต่อเนื่องก็มีโอกาศที่เชื้อจะกลายพันธ ์ทำให้เกิดการติดเชื้อจากคนสู่คน
โอกาศของเชื้อไข้หวัดนก H5N1 จะระบาดทั่วโลกมีอะไรบ้าง
โกาศที่เชื้อไข้หวัดนกจะระบาดทั่วโลก Pandemic มีโอกาศคอนข้างมากการป้องกันจะทำได้โดยการกำจัดปัจจัยเสี่ยงสองประการคือ
1.             การกลายพันธ์ของเชื้อไข้หวัดนก การกลายพันธ์ของเชื้อไข้หวัดนกมีสองวิธีคือ
  • Reassortment คือการที่เชื้อไข้หวัดนกได้แลกเปลี่ยนพันธุกรรมระหว่างไวรัสที่ติดเชื้อในคนและไวรัสป้องกันไข้หวัดนก การป้องกันการกลายพันธ์ทำไดโดยการป้องกันมิให้เชื้อไข้หวัดนกข้ามพันธ์กับเชื้อไข้หวัดใหญ่ วิธีการคือแยกการเลี้ยงไก่และหมูออกจากกัน คนที่ทำงานฟาร์มไก่ หรือคนที่ทำลายไก่ หรือเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ให้ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่
  • Mutation คือการกลายพันธ์ด้วยตัวมันเองซึ่งต้องใช้เวลานาน วิธีป้องกันการกลายพันธ์นี้ทำได้โดยการกำจัดแหล่งแพร่ระบาดให้อยู่ในวงจำกัดและรีบทำลายเชื้ออย่างรวดเร็ว แต่จากสถานการณ์ที่เป็นอยู่พบว่าเชื้อได้ระบาดไปทั่วโลกจนเป็นเชื้อประจำถิ่นทำให้การกำจัดเชื้อเป็นไปได้ยาก นอกจากนั้นเชื้อยังติดต่อสู่คน ทุกครั้งที่เชื้อติดต่อสู่คนก็จะทำให้เชื้อพัฒนาติดคนได้ง่ายขึ้น และอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานขึ้น
2.             การระบาดของเชื้อไข้หวัดนกในไก่ หากมีการระบาดของไข้หวัดนกในไก่และมีการติดเชื้อสู่คนก็จะเพิ่มโอกาศที่เชื้อจะกลายพันธ์
ปัจจัยอื่นๆที่ทำให้เชื้อไข้หวัดนกมีการระบาดมีอะไรบ้าง
  • เป็ดไล่ทุ่งซึ่งเป็นพาหะของโรคซึ่งเป็นแหล่งแพร่พันธ์ไปยังสัตว์ธรรมชาติทำให้เชื้อมีการกระจายเป็นวงกว้าง
  • เชื้อไข้หวัดนก H5N1 ที่พบในปี 2004 มีความรุนแรงและอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นามกว่าเชื้อที่พบในปี 1997
  • เชื้อไข้หวัดนก H5N1 สามารถติดไปยังสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่นเสือ แมว
  • การอพยพของนกป่าและนกน้ำเปลี่ยนแปลงไป
ผลกระทบเมื่อเกิดการระบาดใหญ่ของไข้หวัดนก
  • เมื่อเกิดการระบาดของไข้หวัดนกในคน ไม่ใครที่จะหยุดการระบาดได้ เชื้อจะติดต่อจากคนสู่คนโดยการจามหรือไอ นอกจากนั้นคนที่ได้รับเชื้ออาจจแพร่เชื้อโดยที่ยังไม่มีอาการทำให้เชื้อระบาดไปทั่วโลกได้อย่างรวดเร็ว
  • ประมาณว่าจะมีประชากรโลกติดเชื้อร้อยละ 25-30 โดยประมาณว่าจะมีคนเสียชีวิตประมาณ 2-7.4 ล้านคน หากเชื้อมีความรุนแรงก็อาจจะมีคนเสียชีวิตมากกว่านี้ การคำนวณอาศัยข้อมูลการระบาดปี 1958
  • จำนวนเตียงของโรงพยาบาลไม่เพียงพอ จะขาดคนทำงาน ทำให้การขนส่ง การดูแลไม่เพียงพอ
  • จะขาดแคลนยาปฏิชีวนะ วัคซีน
  • เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจและทางสังคม
  • ไม่มีการช่วยเหลือจากนานาชาติเนื่องจากแต่ละประเทศก็ห่วงคนของตัวเอง
สัญญาณเตือนภัยว่าเชื้อไข้หวัดนกติดต่อจากคนสู่คน
ประชาชนควรจะเฝ้าระวังว่าจะมีการระบาดใหญ่หรือไม่โดยสังเกตจาก รายละเอียดอ่านที่นี่
1.             มีการติดเชื้อในกลุ่มคนที่ใกล้ชิดกัน เกิดโรคเวลาใกล้เคียงกัน
2.             เจ้าหน้าที่ติดเชื้อไข้หวัดนกจากการดูแลผู้ป่วย
3.             มีการกลายพันธ์ของเชื้อโรค
ยาที่ใช้รักษา
ยาที่ใช้ในการรักษาได้แก่ Oseltamivir[tamiflu] และยา Zannamivir[Relenza] เป็นยาที่จะช่วยบรรเทาอาการของโรคแต่ต้องให้ยาภายใน 48 ชั่วโมงหลั่งเกิดอาการ
คำแนะนำสำหรับประชาชนเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดนก
จากสถานการณ์การระบาดของโรคในไก่รวมถึงไข้หวัดนก (Avian influenza) ในขณะนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการเฝ้าระวังโรคในคนอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ และได้ประสานงานกับกรมปศุสัตว์ ซึ่งเข้าดำเนินการควบคุมสถานการณ์ในพื้นที่ที่เกิดการระบาดทุกแห่งแล้ว รวมทั้งป้องกันไม่ให้มีการนำไก่ป่วยหรือตายออกจำหน่ายในท้องตลาดอย่างเด็ดขาด
ในสถานการณ์ปัจจุบัน ประชาชนทั่วไปมีความเสี่ยงน้อยต่อการติดโรค การรับประทานไก่และไข่ที่ปรุงสุกไม่ทำให้ติดโรค จึงไม่ควรตื่นตระหนก อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เกิดความปลอดภัยจากโรคไข้หวัดนก กระทรวงสาธารณสุขขอแนะนำความรู้เรื่องโรคและแนวทางปฏิบัติ ดังนี้



ความรู้เรื่องโรคไข้หวัดนก
โรคไข้หวัดนกเป็นโรคติดต่อของสัตว์ประเภทนก ตามปกติโรคนี้ติดต่อมายังคนได้ไม่ง่ายนัก แต่คนที่สัมผัสใกล้ชิดกับสัตว์ที่เป็นโรคอาจติดเชื้อได้ มีรายงานการเกิดโรคในคนเป็นครั้งแรกในปี 2540 เมื่อเกิดโรคระบาดของสัตว์ปีกในฮ่องกง โรคไข้หวัดนกเกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่บางสายพันธุ์ ที่พบในนก ซึ่งเป็นแหล่งรังโรคในธรรมชาติ โรคอาจแพร่มายังสัตว์ปีกในฟาร์ม คนติดโรคได้โดยการสัมผัสกับสัตว์ปีกที่ป่วยหรือตาย เชื้อที่อยู่ในน้ำมูก น้ำลาย และมูลของสัตว์ป่วย อาจติดมากับมือ และเข้าสู่ร่างกายทางเยื่อบุของจมูกและตา ทำให้เกิดโรคคล้ายไข้หวัดใหญ่ มีระยะฟักตัว 1 ถึง 3 วัน ผู้ป่วยจะมีอาการไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย เจ็บคอ ไอ ผู้ป่วยเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัวอาจมีภูมิคุ้มกันไม่ดี และมีอาการรุนแรงได้ โดยจะมีอาการหอบ หายใจลำบาก เนื่องจากปอดอักเสบรุนแรง ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อโรคไข้หวัดนก ได้แก่ ผู้ที่ทำงานในฟาร์มสัตว์ปีก ผู้ที่ฆ่าหรือชำแหละสัตว์ปีก ในพื้นที่ที่เกิดโรคไข้หวัดนกระบาด โรคไข้หวัดนกต่างจากไข้หวัดใหญ่ กล่าวคือ ในปัจจุบันยังไม่พบผู้ป่วยจากการติดต่อของไข้หวัดนกจากคนสู่คน
แนวทางปฏิบัติสำหรับประชาชนเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดนก่
ผู้ประกอบอาหาร
ผู้ประกอบอาหารทั้งเพื่อการจำหน่ายและแม่บ้านที่เตรียมอาหารในครัวเรือน เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการป้องกันโรคติดต่อจากอาหาร กระทรวงสาธารณสุขขอเน้นการป้องกัน ดังนี้
1. ควรเลือกซื้อเนื้อไก่และผลิตภัณฑ์จากไก่จากแหล่งที่มีการรับรองมาตรฐาน หรือร้านค้าประจำ และเลือกซื้อไก่สดที่ไม่มีลักษณะบ่งชี้ว่าอาจตายด้วยโรคติดเชื้อ เช่น มีเนื้อมีสีคล้ำ มีจุดเลือดออก เป็นต้น สำหรับไข่ ควรเลือกฟองที่ดูสดใหม่และไม่มีมูลไก่ติดเปื้อนที่เปลือกไข่ ก่อนปรุงควรนำมาล้างให้สะอาด
2. ไม่ใช้มือที่เปื้อนมาจับต้องจมูก ตา และปาก และหมั่นล้างมือบ่อย ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจับต้องเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ และเปลือกไข่ที่มีมูลสัตว์เปื้อน
3. ควรแยกเขียงสำหรับหั่นเนื้อไก่ และมีเขียงสำหรับหั่นอาหารที่ปรุงสุกแล้ว หรือผัก ผลไม้ โดยเฉพาะ ไม่ใช้เขียงเดียวกัน
 

ผู้ชำแหละไก่
ผู้ชำแหละไก่อาจมีความเสี่ยงจากการติดโรคจากสัตว์ จึงควรระมัดระวังขณะปฏิบัติงาน ดังนี้
1. ต้องไม่ซื้อไก่ที่มีอาการผิดปกติจากการติดเชื้อ เช่น ซึมหงอย ขนฟู หน้า หงอน หรือเหนียงบวมคล้ำ มีน้ำมูก หรือขี้ไหล เป็นต้น หรือไก่ที่ตายมาชำแหละขาย
2. ไม่ขังสัตว์ปีกจำพวก ไก่ เป็ด ห่าน ฯลฯ ที่รอชำแหละไว้ในกรงใกล้ ๆ กัน เพราะจะเป็นปัจจัยเสี่ยงให้เชื้อโรคกลายพันธุ์ จนอาจเกิดเชื้อสายพันธุ์ใหม่ ๆ ที่เป็นอันตรายทั้งต่อคนและสัตว์ได้
3. ควรทำความสะอาดกรงและอุปกรณ์อย่างสม่ำเสมอ ด้วยน้ำผงซักฟอก และนำไปผึ่งกลางแดดจัด ๆ นอกจากนั้นอาจราดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อเดือนละ 1- 2 ครั้ง
4. หากสัตว์ที่ชำแหละมีลักษณะผิดปกติ เช่น มีจุดเลือดออก มีน้ำหรือเลือดคั่ง หรือจุดเนื้อตายสีขาวที่เครื่องใน หรือเนื้อมีสีผิดปกติ ต้องไม่นำไปจำหน่าย และรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์มาตรวจสอบทันที่ เพราะอาจเป็นโรคระบาด
5. ต้องล้างบริเวณชำแหละสัตว์ให้สะอาดด้วยน้ำผงซักฟอก และควรราดน้ำยาฆ่าเชื้อโรคทุกครั้งหลังเสร็จสิ้นการชำแหละไก่
6. ผู้ชำแหละไก่ควรดูแลระมัดระวังตนเองอย่างถูกต้อง โดยใช้อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย เช่น พลาสติกหรือผ้ากันเปื้อน ผ้าปิดปากจมูก ถุงมือ แว่นตา รองเท้าบู๊ท และต้องหมั่นล้างมือบ่อย ๆ
7. รีบอาบน้ำชำระร่างกายด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาด และต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าทุกครั้งหลังปฏิบัติงานเสร็จ ส่วนเสื้อผ้าชุดเดิม พลาสติกหรือผ้ากันเปื้อน ผ้าปิดปากจมูก ถุงมือ แว่นตา ควรนำไปซักหรือล้างให้สะอาด และผึ่งกลางแดดให้แห้งสนิทก่อนนำมาใช้อีกครั้ง
ผู้ขนย้ายสัตว์ปีก
ผู้ขนย้ายสัตว์ปีกควรระมัดระวังตนเองไม่ให้ติดโรคจากสัตว์ และป้องกันการนำเชื้อจากฟาร์มหนึ่งไปยังแพร่ยังฟาร์มอื่น ๆ จึงควรเน้นการปฏิบัติตามคำแนะนำของกรมปศุสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
1. งดซื้อสัตว์จากฟาร์มที่มีสัตว์ตายมากผิดปกติ
2. เมื่อขนส่งสัตว์เสร็จในแต่ละวัน ต้องรีบล้างทำความสะอาดรถให้สะอาดด้วยน้ำผงซักฟอก สำหรับกรงขังสัตว์ควรราดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อซ้ำอีกครั้งหนึ่ง
3. ควรดูแลระมัดระวังตนเองอย่างถูกต้อง โดยใช้อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย เช่น ผ้าปิดปากจมูก ถุงมือ รองเท้าบู๊ท และต้องหมั่นล้างมือบ่อย ๆ
4. รีบอาบน้ำชำระร่างกายด้วยน้ำและสบู่ให้สะอาด และต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าทุกครั้งหลังปฏิบัติงานเสร็จ ส่วนเสื้อผ้าชุดเดิมและเครื่องป้องกันร่างกาย ควรนำไปซักหรือล้างให้สะอาด และผึ่งกลางแดดให้แห้งสนิทก่อนนำมาใช้อีกครั้ง
การป้องกันโรคให้แก่เด็ก
1. เนื่องจากเด็กมักมีนิสัยชอบเล่นคลุกคลีกับสัตว์เลี้ยงรวมทั้งไก่และนก และหากติดเชื้อไข้หวัดนกมักป่วยรุนแรง ดังนั้นในช่วงที่มีโรคระบาดในสัตว์ปีก มีสัตว์ตายมากผิดปกติ พ่อ แม่ ผู้ปกครองควรระมัดระวังดูแลเด็กให้ใกล้ชิด และเตือนไม่ให้เด็กอุ้มไก่หรือนก จับต้องซากสัตว์ที่ตาย และต้องฝึกสุขนิสัยที่ดี โดยเฉพาะการล้างมือทุกครั้งหลังจับต้องสัตว์
2. หากเด็กมีอาการป่วย สงสัยเป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ ต้องรีบพาไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาโดยเร็ว โดยทั่วไปเมื่อได้รับการรักษาและดูแลอย่างถูกต้อง เด็กจะค่อย ๆ มีอาการดีขึ้นภายใน 2 ถึง 7 วัน ควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด หากมีอาการรุนแรงขึ้น เช่น มีอาการหอบ ต้องรีบพาไปโรงพยาบาลทันที
คำแนะนำทั่วไปในการรักษาสุขภาพและพฤติกรรมอนามัยเพื่อป้องกันโรคติดต่อ
1. ควรรักษาร่างกายให้แข็งแรง เพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรคได้ดี โดยการรับประทานอาหารให้ครบถ้วน รวมทั้งผักและผลไม้ งดบุหรี่และสุรา นอนหลับพักผ่อนให้พอเพียง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และในช่วงอากาศเย็น ควรสวมเสื้อผ้าให้ร่างกายอบอุ่น
2 หากมีอาการไม่สบาย เช่น มีไข้ ปวดศีรษะ หนาวสั่น เจ็บคอ ไอ เป็นต้น ต้องรีบไปพบแพทย์ทันที และแจ้งแพทย์ด้วยว่าทำงานในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ หรือมีประวัติสัมผัสซากสัตว์
ข้อแนะนำขั้นตอนการล้างตลาดอย่างถูกหลักสุขาภิบาลในช่วงการเกิดโรคระบาด
1. ในบริเวณที่มีการระบาดของโรคติดต่อ ควรล้างตลาดอย่างถูกหลักสุขาภิบาลอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
2. กวาดหยากไย่ หรือ เศษสิ่งสกปรกที่ติดบน ฝาผนัง โคมไฟ พัดลม
3. เจ้าของแผงทำความสะอาดแผง และร่องระบายน้ำเสีย กวาดเศษขยะไปรวมทิ้งไว้ในบริเวณพักขยะ หรือในที่ที่จัดไว้ รวมทั้งกำจัดแมลงและสัตว์นำโรคที่อาศัยอยู่ในบริเวณตลาดด้วย
4. บนแผงหรือพื้นที่ที่คราบไขมันจับ ใช้น้ำผสมโซดาไปราดลงบนพื้นหรือแผง ทิ้งไว้นาน 15-30 นาที และใช้แปรงลวดถูช่วยในการขจัดคราบไขมัน ส่วนบริเวณอื่นใช้ผงซักฟอกช่วยในการล้างทำความสะอาด (โซดาไฟ ใช้ชนิด 96% ในอัตราส่วน 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1/2 ปีป ในบริเวณที่ไขมันจับตัวหนา และ 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 1/2 ปีป ในบริเวณที่ไขมันน้อย)
5. ใช้น้ำสะอาดฉีดล้างบนแผง ทางเดิน ฝาผนังและกวาดล้างลงสู่ร่องระบายน้ำเสีย เพื่อชำระล้างสิ่งสกปรก โซดาไฟหรือผงซักฟอกให้หมด
6. ใช้น้ำผสมผงปูนคลอรีน (ใช้ผงปูนคลอรีน 60% ในอัตราส่วน 1 ช้อนชาต่อน้ำ 1 ปีป) ใส่ลงในบัวรดน้ำ และรดบริเวณแผง ทางเดิน ร่องระบายน้ำเสียให้ทั่ว ปล่อยทิ้งไว้เพื่อให้คลอรีนฆ่าเชื้อโรคและกำจัดกลิ่น ส่วนบริเวณที่มีกลิ่นคาวให้ใช้หัวน้ำส้มสายชูผสมน้ำให้เจือจาง แล้วราดบริเวณที่มีกลิ่นคาว โดยเฉพาะแผงขายสัตว์ปีก ควรฆ่าเชื้อด้วยคลอรีนทุกวัน
7. บริเวณห้องน้ำ ห้องส้วม อ่างล้างมือ ที่ปัสสาวะ และก๊อกน้ำสาธารณะที่ใช้ในตลาด ต้องล้างทำความสะอาดโดยใช้ผงซักฟอกช่วยและล้างด้วยน้ำสะอาด
8. บริเวณที่พักขยะต้องเก็บรวบรวมขยะไปกำจัดให้หมด แล้วล้างทำความสะอาดและทำการฆ่าเชื้อ เช่นเดียวกับข้อ 6



 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น