วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ความรู้เรื่องหัวใจ


ความรู้เรื่องหัวใจ
·      หัวใจคนเรามี 4 ห้อง แบ่งซ้าย-ขวาโดยผนังของกล้ามเนื้อหัวใจ และแบ่งเป็นห้องบน-ล่างโดยลิ้นหัวใจ
·      โดยทุกๆ วัน หัวใจจะเต้นประมาณ 100,000 ครั้ง และสูบฉีดเลือดประมาณวันละ 2,000 แกลลอน
·      วงจรการไหลเวียนของเลือด : จะเริ่มจาก หัวใจห้องขวาบนรับเลือดดำจากส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น แขน ขา เลือดส่วนนี้จะไหลผ่านลิ้นหัวใจไตรคัสปิด (Tricuspid) ไปยังหัวใจห้องขวาล่าง ซึ่งจะบีบตัวตามมาไล่เลือดที่เป็นเลือดดำออกไปฟอกที่ปอด โดยผ่านหลอดเลือดที่เรียกว่า Pulmonary Artery เลือดจะถูกฟอกที่ปอดโดยอาศัยการแลกเปลี่ยน gas ผ่านทางหลอดเลือดเล็กๆ ที่ผนังถุงลมของปอด จากนั้นเลือดที่เป็นเลือดแดงจะไหลมารวมกันที่หลอดเลือดใหญ่ ซึ่งเรียกว่า Pulmonary Vein เพื่อไหลกลับเข้าสู่หัวใจอีกครั้งที่ห้องซ้ายบน เลือดจะไหลจากห้องซ้ายบนมาห้องซ้ายล่าง โดยผ่านลิ้นหัวใจไมตรัล (Mitral) เมื่อเลือดแดงอยู่ในห้องหัวใจซ้ายล่างแล้วก็พร้อมที่จะถูกฉีดออกไปเลี้ยงร่างกายทางหลอดเลือดแดงใหญ่ Aorta ผ่านลิ้นหัวใจเอออร์ติด (Aortic) เมื่อผ่านส่วนต่างๆ แล้ว เลือดจะกลับสู่หัวใจด้านขวาอีกครั้ง



โรคลิ้นหัวใจ
ที่เป็นปัญหามากที่สุดคือ ลิ้นหัวใจพิการ รูมาห์ติค ซึ่งเป็นผลจากการติดเชื้อคออักเสบ ลักษณะของการที่เกิด คือ เหนื่อยง่ายเวลาออกกำลัง อ่อนเพลีย ไอเรื้อรังและมักไอเวลากลางคืน ไอแห้ง มีอาการใจสั่น ไอเป็นเลือด เป็นลมไม่รู้สติ เจ็บหน้าอก หลอดเลือดที่คอเต้นแรง ผอมแห้ง มีอาการบวม หอบเหนื่อย นอนราบไม่ได้ การตรวจเอ็คโค่ (Echo) จะช่วยบอกถึงรายละเอียดของความผิดปกติของหัวใจได้
ลิ้นหัวใจ มี 4 ลิ้น
1) ลิ้นเอออร์ติค กั้นระหว่างหัวใจห้องซ้ายล่างกับหลอดเลือดแดงใหญ่
2) ลิ้นไมตรัล กั้นระหว่างหัวใจห้องซ้ายบนและล่าง
3) ลิ้นพัลโมนารี กั้นระหว่างหัวใจห้องขวาล่างกับหลอดเลือดที่ไปปอด
4) ลิ้นไตรคัสปิด กั้นระหว่างหัวใจห้องขวาบนและล่าง
สาเหตุของโรคลิ้นหัวใจ
1) โรคลิ้นหัวใจรูห็มาติค เกิดจากการติดเชื้อในวัยเด็ก มีอาการคออักเสบ แล้วเกิดการอักเสบของหัวใจ แต่จะเริ่มมีอาการตอนอายุมากขึ้น พบบ่อยมากในบ้านเรา โดยเฉพาะในต่างจังหวัด
2) โรคลิ้นหัวใจเสื่อมในคนสูงอายุ เป็นความเสื่อมของร่างกาย มักเป็นลิ้นหัวใจเอออร์ติคตีบ เกิดจากมีหินปูนเกาะที่ลิ้นหัวใจ
3) โรคลิ้นหัวใจพิการแต่กำเนิด อาจมีอาการตอนวัยเด็ก หรือมีตอนเป็นผู้ใหญ่ก็ได้ เด็กจะเหนื่อยง่าย ตัวไม่โต ตัวเขียว อาจพบร่วมกับผนังหัวใจรั่วด้วย
4) โรคลิ้นหัวใจอักเสบติดเชื้อ พบในคนไข้ที่ฉีดยาเสพติด หรือ คนไข้ที่มีโรคลิ้นหัวใจรั่วอยู่แล้วเกิดเชื้อโรคในเลือดไปทำลายลิ้นหัวใจ หลังจากการทำฟัน
5) โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ผนังหัวใจจะขยายตัวออกกว้างขึ้น เนื่องจากเลือดคั่งมาก แต่กล้ามเนื้อหัวใจไม่แข็งแรง ทำให้ลิ้นหัวใจโดนยืดขยายออกจนรั่ว หรือ กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด จนไม่สามารถยึดลิ้นหัวใจไว้ได้

โรคหลอดเลือดหัวใจ
เกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่ที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากการสะสมของไขมันที่ผนังหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบและตันในที่สุด
โรคหัวใจขาดเลือด หรือ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ   (Coronary Artery Disease CAD) เป็นโรคหัวใจที่พบบ่อยที่สุดในผู้ใหญ่และเป็นสาเหตุการตายที่สำคัญของผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจ ปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ได้แก่ อายุที่มากขึ้น เพศชาย การสูบบุหรี่ ภาวะไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และการไม่ออกกำลังกายประจำ ผู้ป่วยโรคนี้จะมีอาการสำคัญ คือ อาการเจ็บแน่นหน้าอก หรือเหนื่อยง่ายโดยเฉพาะในเวลาออกกำลังกาย ซึ่งในบางรายอาจเป็นแบบฉับพลัน และรุนแรงจนทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือที่เรียกว่า Heart Attack ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตสูง หาไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที  และเหมาะสม
โรคนี้ในปัจจุบันมีวิธีการรักษาอยู่ 3 วิธี คือ การผ่าตัดนำหลอดเลือดดำที่ขา หรือหลอดเลือดแดงที่ผนังหน้าอกมาตัดต่อกับหลอดเลือดที่อุดตันทำทางเดินของเลือดใหม่ หรือที่เราได้ยินกันบ่อย ๆ ว่า การผ่าตัดบายพาส (Coronary Artery Bypass Graft) การรักษาด้วยยา และการใช้บอลลูนขยายหลอดเลือดหัวใจรวมถึงการใส่ขดลวดในหลอดเลือดหัวใจ
วิธีการรักษาโดยการขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวด
การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและขดลวดจะทำในห้องตรวจสวนหัวใจ (Cardiac Catheterization Laboratory) เป็นห้องที่มีเครื่องถ่ายภาพเอ็กซเรย์ และอุปกรณ์เครื่องมือเฝ้าติดตามการทำงานของหัวใจชนิดต่างๆ บ่อยครั้งที่ผู้ป่วยจะได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจ ด้วยบอลลูนหลังการฉีดสีถ่ายภาพเอ็กซเรย์หลอดเลือดหัวใจเพื่อให้สามารถวินิจฉัยและรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้อย่างแม่นยำและปลอดภัย



การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Angiography; CAG)
การฉีดสีหลอดเลือดหัวใจทำโดยการสอดสายตรวจขนาดเล็กผ่านเข้าทางหลอดเลือดแดงที่ข้อมือหรือขาหนีบจนกระทั่งปลายสายไปถึงหลอดเลือดหัวใจ แล้วทำการฉีดสารทึบรังสีจำนวนเล็กน้อยเข้าในหลอดเลือดหัวใจพร้อมกับใช้เอ็กซ์เรย์บันทึกภาพของหลอดเลือดหัวใจแต่ละเส้นไว้
ก่อนทำการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจผู้ป่วยจะได้รับคำแนะนำให้งดน้ำและอาหารประมาณ 4-6 ชั่วโมงก่อนทำการตรวจ ในห้องตรวจสวนหัวใจพยาบาลจะทำความสะอาดบริเวณข้อมือและขาหนีบที่จะทำการสอดสายตรวจ แพทย์จะฉีดยาชาก่อนที่จะสอดท่อนำและสายตรวจเข้าไปจนถึงหลอดเลือดหัวใจ ผู้ป่วยจะรู้สึกตัวตลอดเวลาแต่จะไม่รู้สึกเจ็บปวดในขณะทำการตรวจ ขณะแพทย์ฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจนั้นบางครั้งผู้ป่วยอาจจะรู้สึกร้อนวูบวาบหรือรู้สึกว่าหัวใจเต้นผิดจังหวะบ้างซึ่งไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย
 



 

โรคกล้ามเนื้อหัวใจ
       โรคหัวใจที่เกิดจาก การตีบและแข็งตัวของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจโคโรนารี่ ทำให้เลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจลดลงหรือชะงักไปเมื่อหัวใจต้องการออกซิเจนเพิ่มมากขึ้น เช่น การออกแรงมาก ๆ การมีอารมณ์โกรธ เครียด จะทำให้เจ็บหน้าอกเป็นครั้งคราว โดยที่ยังไม่มีการตายของกล้ามเนื้อหัวใจเกิดขึ้น เรียกอาการดังกล่าวว่า " โรคหัวใจขาดเลือดชั่วขณะ" หรือแองจินา แต่ถ้ามีกล้ามเนื้อหัวใจตายบางส่วน เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่ได้จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บหน้าอกรุนแรง ช็อกและหัวใจวายร่วมด้วยเราเรียกว่า " โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย" โรคนี้พบมากในผู้สูงอายุ 40 ปีขึ้นไป พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงคนที่อยู่ดีกินดี อาชีพนั่งโต๊ะ คนในเมืองมีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าคนยากจนที่ใช้แรงงานและชาวชนบท
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรค
เกิดจากการตีบตันของหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ เนื่องมาจากผนังหลอดเลือดแข็งมีไขมันเกาะ และความเสื่อมของร่างกายตามวัยนอกจากนี้ภาวะหลอดเลือดแดงแข็งเร็วขึ้นเพราะจากมีไขมันในเลือดสูง ความอ้วน สูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย กรรมพันธุ์ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคไขมันในเลือดสูง เมื่อตรวจร่างกายถ้าพบโรคเหล่านี้ ให้รีบรักษา 
อาการ
§  ในรายที่เป็นแองจินา จะมีอาการจุกแน่นหน้าอกและร้าวมาที่ไหล่ซ้าย ด้านในของแขนซ้านอาจร้าวมาที่คอ ขากรรไกร หลัง หรือแขวนขา หรือจุกแน่นใต้ลิ้นปี่คล้ายอาหารไม่ย่อย ท้องอืดเฟ้อ
§  ในรายที่เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย จะมีอาการเหมือนแองจินาแต่รุนแรงมากกว่า อ่อนเพลีย ใจสั่น หน้ามืด วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน หอบเหนื่อย หัวใจวายหรือเกิดภาวะช็อก เป็นลม หมดสติ หรือเสียชีวิตในทันทีทันใด
      อาการเจ็บหน้าอกที่เกิดจากโรคหัวใจขาดเลือด


1.
เจ็บแน่นๆ อึดอัดบริเวณกลางหน้าอกอาจจะเป็นด้านซ้ายหรือทั้งสองด้าน และมักจะไม่เป็นด้านขวาด้านเดียว บางรายจะร้าวไปที่แขนซ้ายหรือทั้งสองข้าง หรือจุกแน่นที่คอ บางรายเจ็บบริเวณกรามคล้ายเจ็บฟัน

2.
อาการตามข้อ 1 เกิดขึ้นขณะออกกำลัง เช่น เดินเร็วๆ รีบขึ้นบันได วิ่ง โกรธโมโห อาการดังกล่าวจะดีขึ้นเมื่อหยุดออกกำลัง

3.
ในบางรายที่อาการรุนแรง อาการแน่นหน้าอกอาจเกิดขึ้นในขณะพัก เช่น นั่ง หรือ นอน หลังอาหาร

4.
กรณีที่เกิดหลอดเลือดหัวใจอุดตัน กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน อาการจะรุนแรงมาก อาจมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น เหงื่อออกมาก เป็นลม อาการเช่นนี้ยังพบได้ในโรคของหลอดเลือดแดงใหญ่ปริหรือฉีก



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น