วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

โรคตับชนิดต่างๆ

โรคตับชนิดต่างๆ
ตับมีโอกาสเป็นโรคต่างๆได้แก่ โรคตับอักเสบ hepatitis โรคตับแข็ง [cirrhosis] มะเร็งตับ [liver cancer] โรคไขมันในตับ [fatty liver] โรคฝีในตับ [liver abscess]
โรคตับอักเสบมี 2 ชนิด
1.            โรคตับอักเสบเฉียบพลัน [acute hepatitis] หมายถึงโรคตับอักเสบที่เป็นไม่นานก็หาย ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการ 2-3 สัปดาห์โดยมากไม่เกิน 2 เดือน ผู้ป่วยส่วนใหญ่หายขาดจะมีบางส่วนเป็นตับอักเสบเรื้อรัง และบางรายรุนแรงถึงกับเสียชีวิต
2.            โรคตับอักเสบเรื้อรัง [chronic hepatitis] หมายถึงตับอักเสบที่เป็นนานกว่า 6 เดือนจะแบ่งเป็น 2 ชนิด
  • chronic persistent เป็นการอักเสบของตับแบบค่อยๆเป็นและไม่รุนแรงแต่อย่างไรก็ตามโรคสามารถที่จะทำให้ตับมีการอักเสบมาก
  • chronic active hepatitis.มีการอักเสบของตับ และตับถูกทำลายมากและเกิดตับแข็ง
สาเหตุของโรคตับอักเสบ
1.            เชื้อไวรัส มีหลายชนิดได้แก่ ไวรัสตับอักเสบ เอ ,,ซี,ดี,อี
2.            เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
3.            ยาบางชนิด เช่น ยารักษาวัณโรค halothane, isoniazid, methyldopa, phenytoin, valproic acid, sulfonamide drugs. ผู้ป่วยหากได้ acetaminophen (พาราเซ็ตตามอล)ในขนาดสูงมากก็สามารถทำให้ตับถูกทำลายได้
4.            เชื้อโรคบางชนิด เช่น ไทฟอยด์,มาลาเรีย
การอักเสบของตับจะทำให้ตับบวม มีการทำลายเซลล์ตับ ทำให้มีอาการอ่อนเพลียจากการทำงานผิดปกติของตับ หากการอักเสบเกิดขึ้นเป็นเวลานานจะทำให้ตับถูกทำลายมาก และถูกแทนที่ด้วยพังผืด ทำให้ตับมีแผลเป็น และมีลักษณะแข็งเป็นตุ่มๆ แม้ว่าสาเหตุของตับอักเสบจะมีมากมายแต่สาเหตุที่สำคัญคือไวรัสตับอักเสบ ปัญหาโรคตับอักเสบ บี และโรคตับอักเสบเรื้อรังเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขของประเทศไทยและทั่วโลก การดำเนินของโรคตับอักเสบ บี และโรคตับอักเสบ ซีสามารถดำเนินเป็นโรคตับอักเสบเรื้อรัง เป็นตับแข็ง และเป็นมะเร็งตับ เป็นภาวะที่ก่อให้เกิดการสูญเสียทางครอบครัว ทางเศรษฐกิจเป็นอันมาก ดังนั้นการเข้าใจถึงโรคตับอักเสบ ซึ่งรวมถึงการติดต่อ การดำเนินของโรค การวินิจฉัย การรักษา และการป้องกันการติดต่อซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการดูแลและช่วยลดจำนวนผู้ป่วยลง
ไวรัสตับอักเสบมีกี่ชนิด
อาการของโรคไวรัสตับอักเสบ

ผู้ป่วยดีซ่านตาขาวและผิวจะมีสีเหลือง
  • ตับอักเสบเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการที่พบได้บ่อย คือ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ปวดข้อ คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร อาจจะพบผื่นตามตัว หรืออาการท้องเสีย บางรายปัสสาวะสีเข้ม ตัวเหลืองตาเหลือง ซึ่งอาการตัวเหลืองตาเหลืองจะหายไป 1-4 สัปดาห์ แต่บางรายอาจนาน 2-3 เดือน ส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติ โรคไวรัสตับอักเสบ บี พบว่าร้อยละ 5-10 เป็นตับอักเสบเรื้อรัง ส่วนไวรัสตับอักเสบ ซี ร้อยละ 85 เป็นตับอักเสบเรื้อรัง
  • ตับอักเสบเรื้อรัง ผู้ป่วยมักไม่มีอาการ แต่จะมีการทำลายเซลล์ตับไปเรื่อยๆจนเกิดตับแข็ง และเป็นมะเร็งตับในที่สุด
จะทราบได้อย่างไรว่าเป็นตับอักเสบ
หากสงสัยว่าจะเป็นโรคตับอักเสบท่านควรไปรับการตรวจเลือดเพื่อหาว่ามีการติดเชื้อหรือไม่โดย
1.            ตรวจการทำงานของตับ โดยการหาระดับ SGOT[AST],SGPT [ALT]ค่าปกติน้อยกว่า 40 IU/L ถ้าค่ามากกว่า 1.5-2 เท่าให้สงสัยว่าตับอักเสบ หากพบว่าผิดปกติแพทย์จะขอตรวจเดือนละครั้งติดต่อกันอย่างน้อย 3 เดือน การแปรผลเลือด
2.            การตรวจหาตัวเชื้อ
  • ไวรัสตับอักเสบ เอ ตรวจหา Ig M Anti HAV
  • ไวรัสตับอักเสบ บี ตรวจหา HBsAg ถ้าบวกแสดงว่ามีเชื้ออยู่   Anti HBs ถ้าบวกแสดงว่ามีภูมิต่อเชื้อ  HBeAg ถ้าบวกแสดงว่าเชื้อมีการแบ่งตัว HBV-DNA เป็นการตรวจเพื่อหาปริมาณเชื้อ
  • ไวรัสตับอักเสบ ซี Anti-HCV เป็นการบอกว่ามีภูมิต่อเชื้อ  HCV-RNA ดูปริมาณของเชื้อ
3.            การตรวจดูโครงสร้างของตับ เช่นการตรวจคลื่นเสียงเพื่อดูว่ามีตับแข็งหรือมะเร็งตับหรือไม่
4.            การตรวจชิ้นเนื้อตับ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะนำชิ้นเนื้อตับเพื่อวินิจฉัยความรุนแรงของโรค
การรักษา
การเลือกใช้ยาจะเป็นหน้าที่ของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเนื่องจากยามีผลข้างเคียงที่พึงระวังหลายอย่าง ยาที่ใช้อยู่มี interfeon และ lamuvudin
การปฏิบัติตัว
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหักโหมในช่วงที่มีการอักเสบของตับ แต่การออกกำลังอย่างสม่ำเสมอในตับอักเสบเรื้อรังสามารถทำได้
  • งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และพักผ่อนอย่างพอเพียง ไม่ต้องดื่มน้ำหวานมากๆ เพราะทำให้ไขมันสะสมที่ตับเพิ่มขึ้น
ถ้าเคยเป็นแล้วจะมีโอกาสติดเชื้ออีกหรือไม่
ถ้าเป็นไวรัสตับอักเสบ เอ และ อี จะหายขาด ไวรัสตับอักเสบ บี ร้อยละ 90 หายขาด ส่วนไวรัสตับอักเสบ ซี และ ดี ยังไม่มีข้อมูล
พาหะของโรคจะทำอย่างไร
ผู้ป่วยที่เป็นพาหะ คือ ผู้ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบอยู่ในร่างกาย แต่ไมแสดงอาการของตับอักเสบ ผู้ป่วยกลุ่มนี้สามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่น และต้องมั่นติดตามการดูแลจากแพทย์เป็นระยะๆ ผู้ป่วยที่เป็นพาหะมักเป็นกับเชื้อ บี และ ซี เท่านั้น
ถ้ามารดาเป็นตับอักเสบจะมีผลอย่างไรต่อบุตร
บุตรที่คลอดจากมารดาที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ บีจะมีโอกาสติดเชื้อได้สูง แต่ปัจจุบันการฉีดวัคซีนให้กับทารกสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ แม่สามารถให้นมบุตรได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น