โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009
1.ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 คืออะไร |
คือ เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ H1N1 ที่ระบาดในคน ซึ่งองค์การอนามัยโลกเปลี่ยนชื่อจาก swine flu เป็น Influenza type A H1N1 แต่กระทรวงสาธารณสุขของไทยใช้ชื่อว่า “ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009”
จากประวัติคนไข้ 2 ราย ที่พบในรัฐแคลิฟอเนีย พบว่าทั้ง 2 รายนี้ติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ชนิด H1N1 ซึ่งมีลักษณะพันธุกรรมชนิดเดียวกัน ซึ่งผู้ป่วยทั้ง 2 ราย ไม่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกันมาก่อน รวมทั้งไม่เคยสัมผัสสุกร จึงทำให้สรุปได้ว่า เชื้อไข้หวัดใหญ่ที่แพร่ระบาดในเม็กซิโก แคนาดา และสหรัฐอเมริกา ขณะนี้เกิดจากการติดต่อระหว่างคนสู่คน
สำหรับลักษณะทางพันธุ์กรรมของเชื้อยังแตกต่างจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ที่พบแพร่ระบาดเป็นปกติในฝูงสุกร กล่าวคือ ท่อนพันธุกรรมทั้งแปดท่อนของไข้หวัดเม็กซิโก A/California/04/2009 มีต้นกำเนิดจากสุกร (swine-specific lineage) โดยยีน neuraminidase (NA) และ matrix (M) มีต้นกำเนิดจากสุกรในยุโรป (Eurasian swine origin) ในขณะที่ท่อนยีน hemagglutinin (HA) และยีนที่เหลือ (nucleoprotein (NP), non-structural (NS) และ RNA polymerases (PA, PB1 และ PB2) มีต้นกำเนิดจากสุกรทางอเมริกาเหนือ (North America swine origin) ทั้งนี้ยังไม่พบไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์นี้ระบาดในเม็กซิโก
สำหรับข้อมูลไข้หวัดหมูในฝูงสุกรของประเทศไทยนั้น พบอุบัติการณ์ของการติดเชื้อทั้ง 3 subtypes H1N1 , H3N2 และ H1N2 โดยหลักฐานมีทั้งทางซีรั่มวิทยาและการเพาะแยกเชื้อไวรัสได้จากสุกรป่วย โดยเฉพาะที่หน่วยชันสูตรโรคสัตว์ คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อรวบรวมข้อมูลทางพันธุกรรมของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สุกร subtype H1N1 พบลักษณะทางพันธุกรรมของเชื้อไข้หวัดหมู subtype H1N1 ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2000-2006 ไม่เหมือนเชื้อไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก (ข้อมูลจาก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
2. การติดต่อของโรค |
ปัจจุบันองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประกาศการเตือนภัย เป็นระดับ 5 ซึ่งหมายถึงมีการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ระหว่างคนสู่คนกระจายไปมากกว่า 2 ประเทศ และถ้ามีการระบาดข้ามทวีป องค์การอนามัยโลกจะประกาศเป็นระดับที่ 6
การติดต่อจะคล้ายกับการติดต่อของไข้หวัดใหญ่
การติดต่อโดยตรง โดยจากการถูกผู้ป่วยไอ จามรดในระยะกระชั้นชิด เพราะว่าเชื้อจะปนออกมากับน้ำมูก น้ำลาย และเสมหะ
การติดต่อทางอ้อม โดยการสัมผัสกับเครื่องมือเครื่องใช้ที่ปนเปื้อนกับเชื้อ เช่น ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ แปรงสีฟัน เป็นต้น เพราะเชื้ออาจจะติดจากมือของผู้ป่วยที่ มีการแคะขี้มูก จามลงสู่มือ แล้วมาสัมผัสกับอุปกรณ์ต่างๆ
*โรคนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการบริโภคสุกร
สำหรับการบริโภคสุกรควรปรุงสุกที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียสขึ้นไป เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพ (ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข)
3. อาการของโรค |
ผู้ป่วยจะมีอาการคล้ายกับโรคไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้สูง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อตามตัว ปวดศีรษะ ไอ เจ็บคอ ปวดตา ปวดเมื่อยตามร่างกายรุนแรง อาจมีคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย อาการป่วยจะพัฒนารวดเร็วและมีอาการหายใจลำบากอย่างรุนแรงภายใน 5 วัน ควรสังเกตอาการของตน ส่วนการเสียชีวิตที่เกิดขึ้น เนื่องจากมีอาการปอดอักเสบรุนแรง
4. การรักษา |
ผู้ป่วยต้องได้รับยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ (Oseltamivir) โดยปัจจุบัน องค์การเภสัชฯ ได้มีการผลิตยาสำรองไว้อย่างเพียงพอ
5. ปฏิบัติตัวอย่างไรเพื่อหลีกเลี่ยงการติดเชื้อไวรัสดังกล่าว (ข้อมูลจาก กระทรวงสาธารณสุข) |
การป้องกันตนเอง คือ วิธีที่ดีที่สุดและปลอดภัยที่สุด
1. ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ด้วย 5 อ. ได้แก่: อาหาร 5 หมู่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
อากาศบริสุทธิ์ อารมณ์แจ่มใส อุจจาระเป็นเวลาทุกวัน
อากาศบริสุทธิ์ อารมณ์แจ่มใส อุจจาระเป็นเวลาทุกวัน
2. หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีผู้คนแออัด อากาศถ่ายเทไม่สะดวก
3. หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดผู้ป่วย หากจำเป็นควรป้องกันตนเอง ด้วยการใส่หน้ากากอนามัย
ล้างมือก่อนและหลังสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย
ล้างมือก่อนและหลังสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย
4. ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่
5. ห้ามใช้มือแคะตา แคะจมูก ปากและฟัน
6. หากเกิดการระบาดใหญ่ ให้เตรียมสำรองอาหาร น้ำ ข้าวสาร ยาสามัญประจำบ้าน ของ
ใช้ที่จำเป็น เป็นต้น
ใช้ที่จำเป็น เป็นต้น
7. ให้ฟังข้อมูลและคำแนะนำจากราชการและองค์การอนามัยโลกเป็นระยะๆ
8. หากป่วยเป็นหวัดเวลาจามให้ใช้ผ้าปิดปาก ปิดจมูก เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค
หากมีอาการรุนแรงไข้ไม่ลดภายใน 2 วัน ควรรีบพบแพทย์ทันที โดยเฉพาะผู้ที่เดินทาง
กลับจากประเทศที่มีการแพร่ระบาด
หากมีอาการรุนแรงไข้ไม่ลดภายใน 2 วัน ควรรีบพบแพทย์ทันที โดยเฉพาะผู้ที่เดินทาง
กลับจากประเทศที่มีการแพร่ระบาด
สำหรับคนที่จะเดินทางสู่พื้นที่เสี่ยงหรือมีการระบาดของโรค
- ควรเลี่ยงการเดินทางสู่พื้นที่เสี่ยงหรือมีการระบาดของโรค
- หากไม่จำเป็น ควรเลื่อนหรือชะลอการเดินทางไปยังประเทศที่เป็นพื้นที่เกิดการระบาดจนกว่าสถานการณ์จะยุติลง โดยเฉพาะเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา และแคนาดา
- หากจำเป็นต้องเดินทางไปพื้นที่เกิดการระบาด ให้หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการไอจาม หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด พร้อมทั้งปฏิบัติตามข้อแนะนำของทางการในพื้นที่นั้นๆ อย่างเคร่งครัด
- ควรป้องกันตนเอง ด้วยการใส่หน้ากากอนามัยล้างมือบ่อยครั้งด้วยสบู่หรือน้ำยาล้างมือหลังจากไปสัมผัสเครื่องมือเครื่องใช้ ที่ใช้ร่วมกับผู้อื่น
- หลีกเลี่ยงการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ เช่น รถโดยสารประจำทาง รถไฟฟ้า เป็นต้น
- ผู้ที่เดินทางกลับมาจากพื้นที่เกิดการระบาด ถ้ามีอาการของไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ ไอ ปวดเมื่อยตามตัว เจ็บคอ ภายใน 7 วันหลังจากเดินทางกลับ ให้รีบปรึกษาแพทย์ เพื่อรับการรักษาและคำแนะนำในการปฏิบัติตนอย่างเข้มงวด
- ควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และล้างมือด้วยสบู่บ่อยๆ ในกรณีที่ต้องไปสัมผัสกับอุปกรณ์ที่อาจสงสัยว่ามีเชื้อปนเปื้นอยู่ เช่น ลูกบิด ที่จับประตู ราวต่าง ในสถานที่สาธารณะ
* เนื่องจากร่างกายของมนุษย์ในปัจจุบัน ยังไม่มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อดังกล่าวจึงควรเลี่ยงที่จะเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง (ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น