วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

โรคไข้มาลาเรีย

โรคมาลาเรีย
(Malaria)

สุนทร  โฉมปราชญ์

ศิรพร  ยงชัยตระกูล
โรคมาลาเรียในคน เกิดจากเชื้อปรสิต plasmodium 4 ชนิด ได้แก่ Plasmodium falciparum Plasmodium vivax, Plasmodium malariae และ Plasmodium ovale โดยมียุงก้นปล่องเป็นพาหะนำโรค วงจรชีวิตของเชื้อมาลาเรียซึ่งมียุงก้นปล่องที่เป็นพาหะนั้นจะมีเชื้อมาลาเรียซึ่งอยู่ในระยะที่เป็นตัวอ่อนเรียกว่าสปอโรซอยต์ (sporozoite) อยู่ในต่อมน้ำลาย เมื่อมากัดคนก็จะปล่อยสปอโรซอยต์เข้าสู่กระแสโลหิต และเข้าสู่เซลล์ตับภายใน 1 ชั่วโมง หลังจากนั้นจะเพิ่มขนาดสร้างออร์กาเนล
ต่าง ๆ และแบ่งนิวเคลียสหลายครั้ง ได้เป็นเมอร์โรซอยต์ (
merozoite) สปอโรซอยต์ของ P.vivax และ P.ovale บางส่วน เมื่อเข้าสู่เซลล์ตับแล้วจะหยุดพักการเจริญชั่วขณะ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการไข้กลับ (relapse) ในผู้ป่วยเรียกระยะการหยุดพักนี้ว่า ฮิปโนซอยต์ (hypnoaoite) เมอร์โรซอยต์จะออกจากเซลล์ตับเข้าสู่เม็ดเลือดแดง และกินฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดงเป็นอาหาร โดยใช้กระบวนการ pinocytosis เมอร์โรซอยต์จะเจริญแบ่งตัวในเม็ดเลือดแดงเป็น 4 ระยะ ได้แก่
1. ระยะวงแหวน (ring form)
2. ระยะโทรโฟซอยต์ (trophozoite)
3. ระยะไซซอนท์ (Schizont)
4. ระยะเมอโรซอยต์
จากนั้นเมอโรซอยต์จะแตกออกจากเม็ดเลือดแดง และเป็นอิสระในกระแสโลหิตชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วจึงเข้าสู่เม็ดเลือดแดงใหม่ เป็นการเพิ่มจำนวนเชื้อมาลาเรียอย่างรวดเร็ว เมอร์โรซอยต์บางตัวจะเจริญไปเป็นเชื้อระยะมีเพศเรียกว่า แกมิโตไซต์ (gametocyte) ซึ่งมีทั้งเพศผู้และเพศเมีย เมื่อยุงก้นปล่องมากัดคนจะได้แกมิโตไซต์ เข้าไปอยู่ในกระเพาะอาหาร แล้วจะเจริญเติบโตและสืบพันธ์ได้เป็นไซโกต (Zygote) ไซโกตจะเจริญและแบ่งตัวได้เป็น สปอโรซอยต์จำนวนมาก และเคลื่อนออกจากกระเพาะอาหารเข้าสู่ต่อมน้ำลายของยุง พร้อมที่จะถูกปล่อยเข้าสู่กระแสโลหิตของคนต่อไป

อาการและอาการแสดงของโรค

อาการและอาการแสดงของโรคมาลาเรียไม่มีลักษณะพิเศษบ่งเฉพาะ โดยมากจะมีอาการนำคล้ายกับคนเป็นไข้หวัด คือ มีไข้ต่ำ ๆ ปวดศีรษะ ปวดตามตัว และกล้ามเนื้อ อาจมีอาการคลื่นไส้เบื่ออาหารได้ อาการนี้จะเป็นเพียงระยะสั้นเป็นวัน หรือหลายวันได้ ขึ้นอยู่กับระยะฟักตัวของเชื้อ ชนิดของเชื้อ จำนวนของสปอโรซอยต์ที่ผู้ป่วยได้รับเข้าไป ภาวะภูมิต้านทานต่อเชื้อมาลาเรียของผู้ป่วย ภาวะที่
ผู้ป่วยได้รับยาป้องกันมาลาเรียมาก่อน หรือได้รับยารักษามาลาเรียมาบ้างแล้ว
อาการไข้ซึ่งเป็นอาการที่เด่นชัดของมาลาเรีย ประกอบด้วย 3 ระยะคือ
                1.ระยะสั่น ผู้ป่วยจะมีอาการหนาวสั่น ปากและตัวสั่น ซีด ผิวหนังแห้งหยาบ อาจจะเกิดขึ้นนาน ประมาณ 15 60 นาที ระยะนี้ตรงกับการแตกของเม็ดเลือดแดงที่มีเชื้อมาลาเรีย
                2.ระยะร้อน ผู้ป่วยจะมีไข้สูง อาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย หน้าแดง ระยะนี้ใช้เวลา
2
6 ชั่วโมง
                3. ระยะเหงื่อออก ผู้ป่วยจะมีเหงื่อออกจนชุ่มที่นอน หลังจากระยะเหงื่อออก จะมีอาการอ่อนเพลีย ไข้ลด  ปัจจุบันนี้จะพบลักษณะทั้ง 3 ระยะได้น้อยมาก ผู้ป่วยจะมีไข้สูงลอยตลอดเวลา โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นมาลาเรียครั้งแรก เนื่องจากในระยะแรกของการติดเชื้อมาลาเรีย เชื้ออาจเจริญถึงระยะแก่ไม่พร้อมกัน ซึ่งอาจเป็นผลมาจากได้รับเชื้อในเวลาต่างกัน เชื้อจึงเจริญในเม็ดเลือดแดงไม่พร้อมกัน ทำให้เกิดมีเชื้อหลายระยะ การแตกของเม็ดเลือดแดงจึงไม่พร้อมกัน ผู้ป่วยมาลาเรียในระยะแรกอาจมีไข้สูงลอยตลอดวันแต่เมื่อผ่านไประยะหนึ่งแล้ว การแตกของเม็ดเลือดแดงเกิดขึ้นพร้อมกัน จะเห็นผู้ป่วยมีการจับไข้หนาวสั่นเป็นเวลา แยกได้ชัดเจนตามชนิดของเชื้อมาลาเรีย เชื้อไวแวกซ์ ฟัสซิพารัม และโอวัลเล่ ใช้เวลาในการแบ่งตัว 48 ชั่วโมง จึงทำให้เกิดไข้ทุกวันที่ 3 ส่วนมาลาริอี ใช้เวลา 72 ชั่วโมง อาการไข้จึงเกิดทุกวันที่ 4  ภายหลังที่เป็นมาลาเรียได้ระยะหนึ่ง จะตรวจพบว่าผู้ป่วยซีด บางคนมีตัวเหลือง ตาเหลือง ตับและม้ามโต บางรายกดเจ็บ ถ้าเม็ดเลือดแดงแตกมาก ๆ จะพบว่าผู้ป่วยมีปัสสาวะดำ

 

การดำเนินโรค

ฟัลซิพารัมมาลาเรีย (P.Falciparum)เป็นมาลาเรียชนิดที่รุนแรงและเป็นอันตรายมากที่สุด จึงมีชื่อว่า malignant malaria ผู้ที่ได้รับเชื้อนี้เข้าไปและไม่ได้รับการรักษาจะมีอาการรุนแรงเกิดเป็นมาลาเรียขึ้นสมองได้ แต่ถ้าได้รับการรักษาและหายจากโรคแล้วมักจะหายเป็นปกติ โดยไม่มีอาการอื่นหลงเหลืออีกเลย ผู้ป่วยฟัลซิพารัมมาลาเรียจะเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้บ่อย เช่น เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เกิดภาวะความเป็นกรดเกิน (metabolc acidosis) และเสียชีวิตจากปอดบวมน้ำหรือไตวายได้ผู้ป่วยฟัลซิพารัมมาลาเรีย ในระยะแรกของโรคจะมีอาการไข้ ปวดเมื่อยตามตัว คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้องหรือท้องเดิน บางคนอาจมีไอหรือลักษณะคล้ายไข้หวัดได้ใน 4 5 วันแรกของโรค ไข้จะสูงลอยตลอดเวลา เนื่องจากการแตกของเม็ดเลือดแดงแต่ละชุดไม่พร้อมกัน แต่หลังจากเชื้อมาลาเรียเจริญอยู่ในระยะเดียวกันแล้ว เม็ดเลือดแดงจะแตกพร้อมกันทุก 48 ชั่วโมง จึงให้ชื่อว่า tertain malaria ผู้ป่วยอาจซีดและเหลือง ตับม้ามโต
ไวแวกซ์มาลาเรีย (P.Vivax)  ผู้ป่วยที่เป็นไวแวกซ์มาลาเรียมักจะไม่เสียชีวิต จึงมีชื่อว่า benign tertain malaria แต่ผู้ป่วยจะเป็นโรคซ้ำอีก  อาการของผู้ป่วยไวแวกซ์มาลาเรีย จะมีลักษณะคล้ายกับฟัลซิพารัมมาลาเรีย แต่จะพบหนาวสั่นได้บ่อยกว่า และขณะเกิดหนาวสั่น มักมีอาการปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อมาก ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาอาการไข้จะค่อย ๆ ทุเลาและหายได้ แต่จะเป็นซ้ำได้อีกภายใน 2 ปี นานที่สุด 8 ปี
โอวัลเล่มาลาเรีย (P.Ovale)  อาการทางคลินิกของผู้ป่วยที่ติดเชื้อชนิดโอวัลเล่ จะมีลักษณะคล้ายกับไวแวกซ์มาลาเรีย แต่จะมีอาการน้อยกว่า และมีเชื้อกลับเป็นซ้ำน้อยกว่า ถ้าไม่ได้รับการรักษาอาการไข้จะทุเลาและหายไปได้เอง แต่เป็นซ้ำได้อีกภายใน 1 ปีนานที่สุด 5 ปี
มาลาริอีมาลาเรีย (P.Malariae)  เชื้อมาลาริอีมาลาเรีย จะทำให้เกิดมีไข้หนาวสั่นวันเว้น 3 วัน คือมีไข้วันที่ 1 แล้วสบายอยู่ 3 วัน วันที่ 4 จึงมีไข้อีก จึงเรียกว่า quartan malaria ผู้ป่วยมักไม่มีอาการรุนแรง และกว่าจะเกิดอาการไข้ อาจใช้เวลานานเป็นปี เชื้อมาลาริอีอยู่ในคนได้เป็นเวลานานหลายปี มีรายงานนานถึง 53 ปี เชื้อนี้เป็นสาเหตุทำให้เกิด nephrotic syndrome ได้

การติดเชื้อผสม (mixed infections) การติดเชื้อผสมที่พบได้บ่อยที่สุด คือ ฟัลซิพารัมมาลาเรียร่วมกับไวแวกซ์มาลาเรีย ในประเทศไทยรายงานจากการตรวจเลือดผู้ป่วยทั่วประเทศพบการติดเชื้อผสมของฟัสซิพารัมกับไวแวกซ์มาลาเรีย ในระยะแรกพบเพียงร้อยละ 0.5 แต่รายงานจากโรงพยาบาลที่มีการติดตามผู้ป่วยฟัลซิพารัมภายหลังการรักษานาน 2 เดือน พบว่ามีอัตราการเป็นไวแวกซ์มาลาเรียสูงถึงร้อยละ 33 อาจแสดงได้ว่าในระยะแรกอัตราการได้รับเชื้อผสม 2 ชนิด เกิดได้บ่อย แต่ตรวจไม่พบหรือตรวจแยกชนิดของมาลาเรียได้ยาก ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษามาลาเรียชนิดเดียว คือ ฟัลซิพารัม แต่ภายหลังจึงเป็นมาลาเรียชนิดไวแวกซ์ตามมาในอัตราที่สูง

การวินิจฉัยมาลาเรีย อาศัยการชันสูตรทางห้องปฏิบัติการเพื่อประกอบการวินิจฉัยทางคลินิก วิธีที่ดีที่สุดและนิยมใช้ในปัจจุบัน คือ การตรวจหาเชื้อมาลาเรียในฟิล์มโลหิตด้วยกล้องจุลทรรศน์ ซึ่งมีทั้งฟิล์มหนา (thick film) และฟิล์มบาง (thin film) เป็นวิธีที่ตรวจได้ง่ายใช้เวลาประมาณ 30 นาที สามารถจำแนกชนิดของเชื้อมาลาเรียได้
การรักษาผู้ป่วยมาลาเรีย  มาลาเรียเป็นโรคที่รักษาให้หายขาดได้ โอกาสที่ผู้ป่วยจะเสียชีวิตน้อยมาก ถ้าผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องรวดเร็ว และได้รับการรักษาด้วยยาที่มีประสิทธิภาพสูง การแยกชนิดของเชื้อมีความสำคัญมาก เนื่องจากการเลือกใช้ยาสำหรับเชื้อแต่ละชนิดนั้นต่างกัน

การรักษามาลาเรียประกอบด้วย
1. การรักษาจำเพาะ (Specific treatment)
2. การบำบัดอาการและภาวะแทรกซ้อน (Supportive treatment)
3. การป้องกันการแพร่กระจายโรคโดยให้ยาฆ่าแกมมีโตซัยท์ (Gametocytocide)
1. การรักษาจำเพาะ วัตถุประสงค์ของการรักษาจำเพาะคือ การกำจัดเชื้ออันเป็นต้นเหตุของโรคที่ทำให้เกิดอาการป่วยไข้ คือ ระยะไร้เพศในเม็ดเลือดแดง ฉะนั้นจึงต้องให้ยาฆ่าเชื้อระยะไร้เพศ (blood schizontocide) สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการเลือกยาต้านมาลาเรีย ได้แก่
1.วิธีการบริหารยา ควรประเมินสภาวะผู้ป่วยร่วมด้วย การบริหารยาโดยวิธีกินเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกในผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน แต่อาจไม่เหมาะในผู้ป่วยที่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียนมาก ควรพิจารณาการบริหารยาด้วยวิธีฉีด
2.ความถี่และระยะเวลาของการใช้ยา มีความสำคัญต่อการตัดสินใจในการเลือกใช้ยาเป็นอย่างมาก เพราะจะมีผลต่อความร่วมมือของผู้ป่วย โดยรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง (compliance) การเลือกยาสำหรับผู้ป่วยที่ต้องนำยาไปบริหารเองที่บ้าน ควรเน้นวิธีที่ง่าย สะดวก เช่น รับประทานวันละครั้ง และช่วงเวลาที่ควรรับประทานยาควรสั้น เช่น รับประทานครั้งเดียว (single dose) หรือถ้าต้องให้หลายวันก็ไม่ควรเกิน 3 วัน เป็นต้น
3.ประวัติการได้ยารักษามาลาเรีย เป็นข้อมูลสำคัญที่ทำให้ทราบถึงการดื้อยาของเชื้อมาลาเรีย การเลือกยาต้องคำนึงถึงการดื้อต่อยาของเชื้อฟัลซิพารัมด้วยเสมอ ควรรู้การกระจายของเชื้อที่ดื้อต่อยาชนิดต่าง ๆ เพื่อช่วยในการเลือกใช้ยาอย่างมีประสิทธิภาพ
4.ควรใช้ความรู้ทางเภสัชจลนศาสตร์ของยา เช่น อัตราการดูดซึม ความเข้มข้นของยาในพลาสมาและเม็ดเลือดแดงที่มีเชื้อ การกระจายตัวของยาไปยังเนื้อเยื่อต่าง ๆ อัตราการเปลี่ยนแปลงและขับถ่ายยา ตลอดจนพิษวิทยาของยาเหล่านั้นเป็นพื้นฐานในการจัดขนาดยาที่เหมาะสม
2. การบำบัดอาการและภาวะแทรกซ้อน (Supportive treatment) การดูแลผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดสำคัญมากโดยเฉพาะในผู้ป่วยมาลาเรียขึ้นสมอง จะต้องมีการควบคุมสมดุลย์ของของเหลว (Fluids) และเกลือแร่ (Electrolytes) ในร่างกาย การให้ยารักษาภาวะแทรกซ้อนจะต้องคำนึงถึงภาวะเสี่ยงและผลประโยชน์ที่จะได้รับเป็นอย่างมาก ตัวอย่างเช่น การใช้ยา cortricosteroid ในผู้ป่วยมาลาเรียขึ้นสมอง ไม่ทำให้การรักษาดีขึ้นแต่ผลข้างเคียงมีมาก จึงไม่ควรใช้ ส่วนการให้ยากันชักช่วยป้องกันการชักของผู้ป่วยได้ดี จึงควรใช้ยากันชักในผู้ป่วยมาลาเรียขึ้นสมอง
3. การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ  สำหรับมาลาเรียฟัลซิพารัม ถ้าผู้ป่วยอยู่ในท้องที่ที่มียุงซึ่งเป็นพาหะ ต้องให้ยาฆ่าแกมีโตซัยต์ คือ ไพรมาควิน ขนาด 30 45 mg. รับประทานครั้งเดียวร่วมด้วย เพราะยาฆ่าเชื้อระยะไร้เพศ (blood schizontocide) ฆ่าแกมมีโตซัยต์ (เชื้อระยะมีเพศ) ของเชื้อฟัลซิพารัมไม่ได้ สำหรับมาลาเรียไวแวกซ์ โอวัลเล่ และมาลาริอี ไม่ต้องให้ไพรมาควิน เพื่อฆ่าแกมมีโตซัยม์เพราะ blood schizontocide ออกฤทธิ์ฆ่าแกมมีโต  ซัยต์ของเชื้อเหล่านี้ได้ด้วย

 

ยาที่ใช้ในการรักษามาลาเรีย ยาต้านเชื้อมาลาเรีย จำแนกตามฤทธิ์ของยาต่อเชื้อ ดังนี้

1. Blood schizontocide ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อไร้เพศในเม็ดเลือดแดง ใช้รักษาผู้ป่วยมาลาเรียเพราะเชื้อไร้เพศในเม็ดเลือดแดง เป็นตัวทำให้มีอาการป่วยไข้ ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ คลอโรควิน (chloroquine) ซัลฟาดอกซิน/พัยริเมธามีน (SP, Fansidarฎ) ควินิน (quinine) เมโฟลควิน (mefloquine) เมโฟลควิน ร่วมกับ SP (MSP, Fansimef) เตตร้าซัยคลิน (tetracycline) ฮาโลแฟนทริน (halofantrine) อาร์ติมิเตอร์ (artemether) และอาร์ติซูเนต (Artesunate)
2. Tissue schizontocide มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อที่อยู่ในเนื้อเยื่อ (ตับ) ถ้าฆ่าเชื้อก่อนเข้าเม็ดเลือดแดง (primary tissue schizontocide) ใช้เป็นยาป้องกันมาลาเรีย ได้แก่ ยาพัยริเมธามีน (pyrimathamine) ถ้าฆ่า hypnozoite ที่อยู่ในตับ ใช้เป็นยากันโรคกลับซ้ำ (antirelapse) ใช้ในการรักษามาลาเรียไวแวกซ์และมาลาเรียโอวาเล่ให้หายขาด ได้แก่ ยาไพรมาควิน (primaquine)
3. Gametocide ออกฤทธิ์ฆ่าแกมมีโตซัยต์ หรือเชื้อมีเพศ ได้แก่ ยาไพรมาควิน ใช้ขจัดการแพร่มาลาเรียในโครงการควบคุมกำจัดมาลาเรียของกองมาลาเรีย
4. Sporontocide หรือ antisporogenic drug มีฤทธิ์ขัดขวางการเกิดสปอโรซอยต์ในยุง จึง
เป็นยาที่ขัดขวางการแพร่โรค ได้แก่ ไพรมาควิน
ปัญหาการดื้อยาของเชื้อมาลาเรีย  Blood schizontocide ซึ่งเป็นยาฆ่าเชื้อไร้เพศและเป็นยารักษามาลาเรีย เมื่อใช้ไประยะหนึ่งเชื้อมาลาเรียมักจะปรับตัวดื้อต่อยา เชื้อฟัลซิพารัมปรับตัวดื้อยาได้ดีกว่าเชื้อชนิดอื่นและทำให้เกิดปัญหาในการรักษาควบคุมและกวาดล้างมาลาเรีย สำหรับในประเทศไทยมีประวัติการดื้อยาของเชื้อมาลาเรีย ดังนี้
- มีรายงานผู้ป่วยฟัลซิพารัมดื้อต่อยาคลอโรควิน ที่โรงพยาบาลอายุรศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ใน พ.ศ.2505 หลังจากนั้นมีการกระจายของเชื้อดื้อยาไปอย่างช้า ๆ
- พ.ศ.2514  เชื้อดื้อยาคลอโรควินมากขึ้น และกระจายไปทั่ว โครงการควบคุมไข้มาลาเรียจึงเปลี่ยนการรักษาฟัลซิพารัมจากคลอโรควินเป็น SP ในการรักษาขั้นหายขาด หลังจากนั้นมีการใช้ยา SP อย่างแพร่หลายในประเทศไทย มีการใช้เป็นยาป้องกัน ตลอดจนยาชุด จึงทำให้เกิดการดื้อยาในไม่ช้า
- พ.ศ.2524 กองมาลาเรีย ทำการศึกษาประสิทธิภาพของยารักษาขั้นหายขาด 5 ขนาน พบว่า Fansidar ให้ผลการรักษาต่ำมาก เพียง 30 40% ที่ตาก กาฬสินธ์ และจันทบุรี
- พ.ศ.2528 กองมาลาเรียได้นำยา MSP. เข้ามาใช้ในโครงการควบคุมไข้มาลาเรีย หลังจาก MSP. ได้รับการจดทะเบียนครั้งแรกในประเทศไทย (พ.ย.2524) และมีการควบคุมยานี้ โดยมีข้อตกลงห้ามมิให้บริษัทจำหน่ายให้แก่ร้านขายยาหรือภาคเอกชน นอกจากจะได้รับอนุญาตจากกรมควบคุมโรคติดต่อเป็นราย ๆ ไป และไม่ให้ใช้เป็นยาป้องกัน นับได้ว่า MSP. เป็นยาขนานแรกที่มีระบบการควบคุมในประเทศไทย ซึ่งยาอื่นที่ได้รับการจดทะเบียนก่อนหน้านี้ เช่น คลอโรควิน ควินิน SP ไม่มีการควบคุมแต่อย่างใด และมักพบยาเหล่านี้อยู่ในยาชุดจำหน่ายทั่วไปตามแหล่งแพร่เชื้อมาลาเรีย
- พ.ศ. 2533 มีการระบาดของไข้มาลาเรียฟัลซิพารัมอย่างรุนแรง เนื่องจากมีการเปิดชายแดนไทย-กัมพูชา ตั้งแต่ปลายปี 2531 ทำให้มีคนงานขุดพลอยจากจังหวัดตราดและจังหวัดใกล้เคียง ตลอดจนจังหวัดอื่น ๆ เกือบทั่วประเทศเดินทางข้ามชายแดนที่ อ.บ่อไร่ จ.ตราด ไปขุดพลอยในจังหวัดไพลิน ประเทศกัมพูชา ทำให้มีผู้ป่วยมาลาเรียจำนวนมาก (65,550 ราย ในจังหวัดตราด คิดเป็น 24% ของผู้ป่วยทั้งประเทศ) 90% เป็นเชื้อ P.falciparum ก่อให้เกิดผลกระทบ คือ ผลการรักษาด้วยยา MSP. ลดลงมาก ต่อมาในปี 2533 องค์การอนามัยโลกได้ประกาศแนะนำให้งดการใช้ยา MSP. ทั้งเพื่อการรักษาและเพื่อเป็นยาป้องกัน และประเทศไทยได้เริ่มใช้ Mefloquine ในรูปยาเดี่ยว แทน MSP.
- พ.ศ. 2538 กองมาลาเรียได้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับยารักษามาลาเรียฉบับ พ.ศ.2538 โดยนำยากลุ่มอนุพันธ์ชิงเฮาซู ได้แก่ อาร์ติซูเนต และอาร์ติมิเตอร์ ซึ่งเป็นยาใหม่มาใช้ร่วมด้วย
แนวทางการรักษามาลาเรียของโครงการควบคุมไข้มาลาเรีย กองมาลาเรีย กรมควบคุมโรคติดต่อ (ฉบับ พ.ศ.2538)

 

การรักษาผู้ป่วย  P.falciparum  มีการแบ่งพื้นที่ประเทศออกเป็น 3 ลักษณะดังนี้

ก. พื้นที่เชื้อไวต่อยาเมโฟลควิน หรือดื้อยาเมโฟลควินในระดับต่ำ มีอัตราหายขาดสูงกว่า 70% ได้แก่พื้นที่ทั่วไปของประเทศ ยกเว้น ข้อ ข และ ค
ข. พื้นที่เชื้อดื้อต่อยาเมโฟลควินในระดับปานกลาง มีอัตราหายขาดระหว่าง 50-70% และอาจพบผู้ป่วยดื้อยาระดับสูง RIII ได้แก่ จังหวัดนครนายก และสระแก้ว
ค. พื้นที่เชื้อดื้อต่อยาเมโฟลควินในระดับสูง อัตราหายขาดต่ำกว่า 50% และมักจะพบผู้ป่วยที่มีการดื้อยาระดับสูง RIII ได้แก่จังหวัดตาก ตราด และจันทบุรี
พื้นที่ ก. ยาที่ใช้รักษาคือ เมโฟลควิน 750 mg. ร่วมกับไพรมาควิน 30 mg. รับประทานพร้อมกัน
ครั้งเดียว หากรักษาไม่หายให้ใช้ยาขนานที่สองคือควินิน 600 mg. วันละ 3 ครั้ง ร่วมกับเตตร้าซัย
คลิน 500
mg. วันละ 2 ครั้ง นาน 7 วัน และไพรมาควิน 30 mg. ในวันแรก และยาขนานที่สาม คือ อาร์ติซูเนตหรือ อาร์ติมิเตอร์ขนาด 700 mg. แบ่งให้ภายใน 5 วัน ร่วมกับไพรมาควิน 30 mg. ในวัน
สุดท้าย
พื้นที่ ข. ยาที่ใช้รักษาคือ เมโฟลควิน 750 mg. ครั้งเดียวร่วมกับอาร์ติซูเนต หรืออาร์ติมิเตอร์
วันละ  300 mg. ครั้งเดียวหากรักษาไม่หายให้ใช้ยาขนานที่สองและสาม เช่นเดียวกับพื้นที่ ก.
พื้นที่ ค. ยาที่ใช้รักษาคือ เมโฟควิน 1250 mg. เป็นเวลา 2 วัน และไพรมาควิน 30 mg. ครั้งเดียว หากรักษาไม่หายให้ใช้ยาขนานที่สองและสาม เช่นเดียวกับพื้นที่ ก.

การรักษาผู้ป่วย P.vivax และ P.ovale

ใช้คลอโรควิน 1500 mg. แบ่งให้ภายใน 3 วัน ร่วมกับไพรมาควิน วันละ 15 mg. นาน 14 วันหากพบเชื้อไวแวกซ์ซ้ำภายใน 3 เดือน นับจากการรักษาขั้นแรก โดยพิสูจน์ได้ว่าไม่ใช่เป็นการรับเชื้อใหม่ ให้รักษาซ้ำเช่นเดิม แต่เพิ่มขนาดยาไพรมาควินเป็นวันละ 20 mg.

การรักษาผู้ป่วย P.malariae

รักษาเหมือน P.vivax แต่ไม่ต้องให้ไพรมาควิน เชื้อผสมที่มีเชื้อ P.falciparum รวมอยู่ด้วย ให้รักษาตามแต่กรณีของฟัลซิพารัมนั้น ๆ เนื่องจากยารักษามาลาเรียฟัลซิพารัม สามารถจำกัดเชื้อไวแวกซ์ได้ เช่นเดียวกัน และนัดมาตรวจโลหิตซ้ำหากพบ P.vivax จึงรักษาอีกครั้งตามวิธีรักษา P.vivax 
ยาป้องกัน
ปัจจุบันกองมาลาเรีย ไม่แนะนำให้ประชาชนทั่วไปกินยาป้องกัน โดยให้ใช้วิธีป้องกันยุงกัดแทน สำหรับผู้ที่มีความจำเป็นต้องเข้าไปในท้องที่แพร่เชื้อในเวลาอันสั้น อาจกิน Doxycyclin วันละ
100
mg. ติดต่อกันจนกลับออกจากท้องถิ่น  กินต่ออีก  4  สัปดาห์  (เด็กอายุต่ำกว่า 9 ปีและหญิงตั้งครรภ์ห้ามใช้ยานี้)
การรักษากลุ่ม (Mass drug administration, MDR)
ยารักษากลุ่ม เป็นยาที่ให้แก่ประชาชนทั้งหมดในท้องที่ เพื่อหยุดยั้งการแพร่เชื้อไข้มาลาเรีย มักดำเนินการร่วมไปกับการควบคุมยุงพาหะ โดยดำเนินการเป็นช่วงสั้น ๆ นาน 2 3 เดือน ในบางกรณีจะจ่ายยาเฉพาะกลุ่มชน เรียกว่า Selective drug administration, (SDA) การรักษากลุ่มทั้ง MDA และ SDA จะประกาศใช้ในกรณีเฉพาะกิจ ชนิดและขนาดของยาที่ใช้อยู่ในดุลยพินิจของผู้อำนวยการสำนักงานโรคติดต่อนำโดยแมลง   

เภสัชวิทยาของยารักษาโรคมาลาเรีย
1. คลอโรควิน (Chloroquine)  คลอโรควิน มีฤทธิ์กำจัดเชื้อมาลาเรีย P.vivax, P.malariae และ P.ovale ระยะที่อยู่ในกระแสเลือดได้ดีมาก ทั้งแบบมีเพศและไร้เพศ แต่ไม่มีฤทธิ์ต่อเชื้อระยะที่อยู่ในตับของ P.vivax, และ P.ovale ส่วนเชื้อ P.fafclparum ในประเทศไทยดื้อต่อยานี้  เภสัชจลนศาสตร์  คลอโรควิน ถูกดูดซึมได้ดีเมื่อรับประทาน bioavailability ของยาชนิดเม็ดประมาณ 80-90% การฉีดยาจะกระจายไปสะสมตามอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย ทำให้ปริมาตรการกระจายในร่างกายใหญ่มาก (100-1,000 ลิตร/กก.น้ำหนักตัว) ในขณะที่ปริมาตรการกระจายยาในระบบไหลเวียนโลหิตเล็กมาก (0.2 ลิตร/กก.น้ำหนักตัว) ดังนั้นการบริหารยาโดยวิธีฉีด จะทำให้ระดับยาในพลาสมาสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจนเป็นพิษได้ จึงควรให้ยาโดยวิธีรับประทานจะปลอดภัยกว่า แต่หากจำเป็นต้องให้โดยวิธีฉีดต้องให้แบบหยดเข้าหลอดเลือดดำช้า ๆ หรือฉีดเข้ากล้ามหรือใต้ผิวหนัง โดยแบ่งฉีดที่ละน้อย แต่ให้ระยะเวลาถี่ขึ้น  การบริหารยาโดยการรับประทานในขนาดที่ใช้รักษา (10 mg/กก.น้ำหนักตัว) ยาจะถึงระดับ MIC (minimum inhibitory concentration) ภายใน 30 นาที ระดับยาในพลาสมาขึ้นสูงสุด ประมาณ 3-5 ชั่วโมงหลังรับประทาน ยาถูกดูดซึมได้ดีขึ้นเมื่อให้ร่วมกับอาหาร โดยเฉพาะอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต  การกำจัดและการขับถ่ายยาออกจากร่างกายเป็นไปอย่างช้า ๆ ประมาณร้อยละ 50 ของยาที่ถูกเปลี่ยนแปลงโดยเอนซัยม์ cytochrome p450 ในตับ ยาถูกขับออกทางปัสสาวะในรูป chloroquine (unchanged) ประมาณร้อยละ 50 และร้อยละ 25 ในรูปเมตาบอไลต์ อัตราการกำจัดยาโดยไตประมาณ 400-500 มล./นาที อาจตรวจพบยาหลงเหลือในปัสสาวะได้เมื่อหยุดยาไปแล้วเป็นปี  การดูดซึมยาคลอโรควิน ในผู้ป่วยมาลาเรียชนิดไวแวกซ์มากกว่าในคนปกติ ทำให้ได้ความเข้มข้นยาสูงสุดและ bioavailabitity เพิ่มขึ้น  อาการไม่พึงประสงค์  ในขนาดที่ใช้รักษาโดยทั่วไปไม่ทำให้เกิดอาการข้างเคียงที่รุนแรง ที่พบส่วนใหญ่ในขนาดรับประทานเพื่อรักษามาลาเรียเฉียบพลัน อาจทำให้ปวดศีรษะ ตาพร่า ลมพิษ คัน และอาการข้างเคียงในทางเดินอาหาร เช่น เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย ซึ่งสามารถลดอาการเหล่านี้ได้โดยการให้ยาพร้อมอาหาร การให้ยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำอย่างรวดเร็ว หรือฉีดเข้ากล้ามในขนาดสูง อาจทำให้เกิดพิษต่อระบบไหลเวียนโลหิต และหัวใจอย่างรุนแรง ได้แก่ หลอดเลือดขยายตัว ความดันโลหิตต่ำ คลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติจนถึงหัวใจหยุดเต้น  การให้ยาในขนาดสูงมาก ๆ หรือให้เป็นเวลานาน เช่น ใช้ป้องกันมาลาเรีย อาจทำให้เกิด retinopathy (irreversible)  อาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงที่อาจพบได้ คือ photosensitization, aplastic anemia, agranulocytosis, myopathy และ psychiatric disturbance

ข้อควรระวัง
1. ระวังในผู้ป่วยโรคตับ ผู้ที่มีความผิดปกติรุนแรงในระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท ระบบเลือด
2. ยาทำให้เม็ดเลือดแดงแตกในผู้ป่วยที่ขาดเอ็นไซม์ glucose - 6 phosphate  dehydrogenase (G6PD)
3. การใช้ยานี้ในผู้ป่วยโรคเรื้อนกวางและ porphyria อาจเพิ่มความรุนแรงของโรค
ปฏิกิริยาระหว่างยา (Drug Interactions)  ยาที่มีปฏิกิริยากับคลอโรควิน
ผลที่เกิดขึ้น  Cimetidine  Cimetidine จะลดอัตราการเมตาบอไลต์ และอัตราการขับถ่าย
ยา Chloroquine  Kaolin หรือ magenesium trisilicate  การดูดซึมของ chloroquine จากทาง
เดินอาหารจะลดลงเมื่อให้ยาร่วมกัน
ขนาดและวิธีใช้  การบริหารยาโดยวิธีรับประทาน  ใช้ในผู้ป่วยมาลาเรียที่ไม่สามารถให้ยาโดยวิธี
รับประทานได้ 
ผู้ใหญ่
1. ให้ 160-200 mg. (base) ฉีดเข้ากล้ามซ้ำได้ใน 6 ชั่วโมง ต่อไปถ้าจำเป็น ห้ามฉีดเกิน
800
mg. (base) ใน 24 ชม. หลังจากนั้นเริ่มให้ยารับประทานในทันทีที่ทำได้ต่อไปอีก 3 วันจนครบ 1500 mg.
2. หรืออาจให้ยา 2.5 mg./kg. ทุก 4 ชม. หรือ 3.5 mg./kg. ทุก 6 ชม. ขนาดสูงสุด
25
mg./kg./day

เด็ก

การให้ยาในเด็กต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก ไม่ให้ยาเกินขนาด เนื่องจากจะเกิดปฏิกิริยารุนแรงจนเสียชีวิตได้ ขนาดที่แนะนำให้ครั้งเดียวในขนาด 5 mg./kg. อาจซ้ำได้ใน 6 ชม.ต่อมา ห้ามให้ยากินเกิน  10 mg./kg./day
รูปแบบยา   ชนิดรับประทานจะอยู่ในรูปของ Chlorquine phasphate
Choloroquine phosphate 500 mg. เทียบเท่า (Cquivaent) กับ chlorquine base  300  mg.
ชนิดฉีดอยู่ในรูปของ Chlorquine Hydrochloride  Chlorquine NCL 50 mg. เทียบเท่ากับ chloroquine base 40 mg.   ควินิน (Quinine)  ควินินมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อมาลาเรียทุกชนิดในระยะที่อยู่ในเม็ดเลือดแดง รวมทั้งเชื้อฟัลซิพารัม ซึ่งดื้อต่อยาคลอโรควิน และยาอื่นๆ มีฤทธิ์ฆ่าแกมมีโตซัยท์ของไวแวกซ์ มาลาริอี และโอวัลเล่ แต่ไม่มีฤทธิ์ต่อแกมมีโตซัยท์ของเชื้อฟัลซิพารัม และไม่มีฤทธิ์ต่อเชื้อระยะในตับ
เภสัชจลนศาสตร์  ควินินถูกดูดซึมได้ดีเมื่อรับประทานหรือฉีดเข้ากล้าม bioavailability ของยาในรูปยาเม็ดและแคปซูล มากกว่าร้อยละ 80 โดยยาในรูปเกลือไดฮัยโดรคลอไรด์จะดูดซึมได้ดีกว่า ระดับยาในพลาสม่าขึ้นสูงสุดประมาณ 3 ชม. หลังรับประทานอาหาร ปริมาตรการกระจายยา 1.5 ลิตร/กิโลกรัม ในอาสาสมัครปกติหลังหยุดยา ระดับยาลดลงด้วยครึ่งชีวิต 11 ชม.  ประมาณร้อยละ 80 ของควินินถูกกำจัดที่ตับโดยเอนไซม์ cytochrome p450 ร้อยละ 20 ถูกกำจัดโดยไต ยาถูกขับออกทางปัสสาวะในรูปของควินินและเมตาโบไลต์  ในผู้ป่วยมาลาเรียการดูดซึมยาจากทางเดินอาหารไม่เปลี่ยนแปลง แต่อัตราการกำจัดยาจะลดลงและปริมาตรการกระจายตัวในร่างกายลดลง การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นผลให้ค่าครึ่งชีวิตยาวขึ้น เป็น 16-18 ชม. ความเข้มข้นของยาในพลาสมาเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามไม่พบความเป็นพิษในผู้ป่วย เนื่องจากยาเพิ่มการจับตัวกับโปรตีนในพลาสมา ภาวะการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้จะกลับสู่สภาพปกติภายหลังผู้ป่วยฟื้นจากไข้ (ประมาณวันที่ 4 เป็นต้นไป)ในผู้ป่วยสูงอายุ อัตราการกำจัดยาต่ำกว่าผู้ใหญ่ทั่วไปประมาณร้อยละ 26 เนื่องจากสมรรถภาพการกำจัดยาของตับเสื่อมลง ครึ่งชีวิตของยาอาจยาวขึ้นเป็น 18-19 ชม. จึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษในผู้ป่วยกลุ่มนี้ เพราะอาจมีการสะสมยาจนเกิดพิษได้ ในผู้ป่วยเด็ก เมื่อฟื้นจากไข้ (ภายหลัง 3-4 วัน) ควรเพิ่มขนาดยาเป็น 15 mg.(base) /kg. เนื่องจากอัตราการกำจัดยาจะเร็วขึ้น (เข้าสู่ภาวะปกติ) อาจทำให้ระดับความเข้มข้นในพลาสมาลดลงจนต่ำกว่า MIC ได้ ในหญิงมีครรภ์ ปริมาตรการกระจายยาควินินในร่างกายลดลงประมาณร้อยละ 30 และอัตราการกำจัดยาเร็วขึ้น และยาสามารถผ่านจากมารดาไปยังเด็กทารกในครรภ์ทางรกได้ ในผู้ป่วยที่มีภาวะการทำงานของตับเสื่อม เช่น ผู้ป่วยตับอักเสบจากไวรัสตับอักเสบชนิดบี อัตราการกำจัดยาจะลดลง ในผู้ป่วยหญิงระยะให้นมบุตร ควินินถูกขับออกทางน้ำนมในปริมาณที่น้อยมาก (น้อยกว่า 2-3 mg./วัน) จึงไม่เป็นอันตรายต่อบุตร  อาการไม่พึงประสงค์ ยาก่อให้เกิดกลุ่มอาการไม่พึงประสงค์ซึ่งรวมเรียกว่า ซินโคนิซึม (cinchonism) ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน หูอื้อ ตาลาย ปวดศีรษะ เบื่ออาหาร ปวดท้อง ท้องผูกหรือท้องเดิน อาการเหล่านี้ไม่รุนแรง จะหายไปเองเมื่อหยุดยาหรือเมื่อระดับความเข้มข้นในพลาสมาต่ำลง  อาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง มักเกิดจากการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำในขนาดสูงอย่างรวดเร็ว จะทำให้ความดันโลหิตต่ำ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ซึ่งอาจรุนแรงถึงเสียชีวิตได้ ป้องกันได้โดยการฉีด (หยด) ยาเข้าเส้นอย่างช้า ๆ ในผู้ป่วยมาลาเรียรุนแรงซึ่งต้องบริหารยาโดยวิธีฉีด  การให้ยาในขนาดสูง จนระดับยาในพลาสมาสูงกว่า 10 mcg./ml. (ระดับยาในพลาสมาเมื่อรับประทานในขนาด 600 mg. จะได้ความเข้มข้นสูงสุด 2200-3900 mcg./ml. ) ยาจะเป็นพิษต่อหูและตาในผู้ป่วยที่มีการตอบสนองต่อยาสูง การให้ยาขนาด 300 mg. ก็อาจเกิดความเป็นพิษได้ ทำให้เม็ดเลือดแดงแตกใน
ผู้ป่วยที่ขาดเอนไซม์
G6PD
อาการข้างเคียงอื่น ๆ ที่อาจพบได้ ได้แก่ urticaria asthma ภาวะเกร็ดเลือดต่ำ หลอดลมหดเกร็งตัว angioedema hemolysis และ black water fever (ภาวะอาการ hemolytic anemia, hemogl obinuria, oliguria และ jaundice)  ปฏิกิริยาระหว่างยา
คำแนะนำผู้ป่วย
1. ควรรับประทานพร้อมอาหารหรือหลังอาหารทันที เพื่อลดการระคายเคืองทางเดินอาหาร
2. ยาอาจทำให้ ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง หูอื้อ หรือมีเสียงดังในหู
3. ยาอาจทำให้เกิดอาการวิงเวียน มึนงง ตาพร่า สับสน อ่อนเพลีย จึงควรระมัดระวังในการขับขี่ยานพาหนะ หรือใช้เครื่องจักร

ข้อควรระวัง

1. ยาขนาดสูงทำให้ตัวอ่อนผิดปกติในสัตว์ทดลอง ในสตรีมีครรภ์จึงควรใช้ยาเมื่อจำเป็น ไม่ควรใช้เพื่อป้องกัน
2. ไม่ควรใช้ยาในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปีหรือน้ำหนักตัวต่ำกว่า 15 kg.
3. ไม่ควรใช้ยาในผู้ที่มีประวัติของโรคลมชัก โรคทางจิตประสาทต่าง ๆ หรือผู้ที่เคยมีปฏิกิริยารุนแรง เมื่อใช้ยาควินิน หรือคลอโรควิน
4. ไม่ควรให้ควินินหลังจากให้เมโฟลควินไปไม่นาน อาจมีอันตรายจากปฏิกิริยาของยาเนื่องจากเมโฟลควินถูกกำจัดช้ามาก
5. การใช้ยาในหญิงระยะให้นมบุตรควรพิจารณาอย่างรอบคอบ แม้ว่ายาจะถูกขับออกทางน้ำนมไม่มากนัก แต่ทารกอาจเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงได้

ขนาดและวิธีใช้

ผู้ใหญ่ : 1.0-1.5 gm. ครั้งเดียว หรือ 750 mg. ครั้งแรก ตามด้วย 500 mg. ใน 6-8 ชม.ต่อมา
เด็ก : 25 mg./kg. ครั้งเดียว

คำแนะนำผู้ป่วย

1. ห้ามรับประทานในขณะท้องว่าง ดื่มน้ำตามมาก ๆ (อย่างน้อย 240 ml.)
2. ยาอาจทำให้เกิดอาการ วิงเวียนศีรษะ ดังนั้นควรระมัดระวังในขณะขับขี่ยานพาหนะหรือใช้เครื่องจักร
การใช้ยาชนิดเหน็บทวาร  ยาอาร์ติซูเนต ในรูปแบบยาเหน็บทวาร มีข้อบ่งใช้ในผู้ป่วยมาลาเรีย
ฟัลซิพารัม ซึ่งมีภาวะ แทรกซ้อน และมาลาเรียขึ้นสมอง โดยเฉพาะในรายที่ไม่รู้สึกตัวหรือไม่สามารถรับประทานยาได้ ขนาดที่ใช้ วันแรกครั้งละ 200
mg. (1 แคปซูล) เหน็บทวารทุก 4 ชม. 4 ครั้ง
วันที่ 2 ใช้ 200 mg. (1 แคปซูล) เช้าและเย็น วันที่ 3 แนะนำให้ใช้ mefloquine ต่อ  ยาชนิดอื่นที่ใช้รักษามาลาเรีย
1. Malarone เป็นยาผสมในเม็ดเดียวกันประกอบด้วย Atovaquone (อาโตวาโควน) 250
mg. และ Proguanil hydrochloride (โปรกัวนิล ไฮโดรคลอไรด์) 10 mg. ผลิตโดยบริษัท Glaxo Wellcome ประเทศอังกฤษ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อมาลาเรียทั้งใน blood stage และ early liver stage ยานี้ได้ถูกเสนอชื่อเพื่อขึ้นทะเบียนตำรับในประเทศไทย เมื่อ พ.ศ.2540 แต่ยังไม่ได้รับอนุญาต

2. CO-ARTEM เป็นยาผสมในเม็ดเดียวกัน ประกอบด้วยยา Artemeter 20 mg. และ
Lumefantrine (ลูมิแฟนทรีน) 120 mg. (อาจเรียกยาผสมนี้ว่า Co-artemeter) ผลิตโดยบริษัท Novartis Pharma AG ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ มีฤทธิ์เป็น Blood schizontocide ยานี้ได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับยาในประเทศไทยเมื่อเดือนกันยายน 2542 แต่ยังไม่มีการนำมาใช้ในโครงการควบคุมมาลาเรีย เป็นยาควบคุมให้จำหน่ายแก่หน่วยงานในภาครัฐบาลเท่านั้น
3. Halofantrine ชื่อการค้าคือ Halfanฎ มีตัวยา Halofantrine hydrochloride ผลิตโดย
บริษัท Smith Kline Beecham ประเทศอังกฤษ มีฤทธิ์เป็น Blood schizontocide ต่อเชื้อมาลาเรียทุกชนิด ยานี้ยังไม่มีการขึ้นทะเบียนตำรับในประเทศไทย
4. Tafenoquine ของบริษัท Smith Kline Beecham เป็น Long acting antimalaria เป็น analogue ของ primaquine มีฤทธิ์ต่อเชื้อมาลาเรียทั้งที่อยู่ในเลือดและตับ
5. Artimotil (Artecepฎ) เป็นยาฉีดมีใช้เฉพาะในโรงพยาบาล บริษัทได้รับทุนในการผลิตจาก WHO โดยมีข้อตกลงว่าจะขายในราคาถูกผ่านกระทรวงสาธารณสุข นำไปใช้ในประเทศที่กำลังพัฒนา ยานี้มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อ P.falciparum ระยะ blood stage จนถึง early gametocyte

วัคซีนป้องกันโรคมาลาเรีย
ขณะนี้มีวัคซีนป้องกันโรคมาลาเรียของบริษัท Smith Kline Beecham ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างทำการทดลองทางคลินิกระยะที่ 3 ในประเทศแกมเบีย และยังมีการศึกษาในระดับยีนของเชื้อ P.falciparum ด้วยถือเป็นความก้าวหน้าที่ทำให้มีความหวังว่าจะมีวัคซีนที่สามารถป้องกันโรคมาลาเรียได้ในอนาคต

เอกสารอ้างอิง

1.             กรองทอง ทิมาสาร. การรักษามาลาเรียของโครงการควบคุมไข้มาลาเรีย ใน : สมทัศน์ มะลิกุล. มาลาเรียวิทยา. กองมาลาเรีย กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข; 2543. หน้า 88-102.
2.              
2. กรองทอง ทิมาสาร. ยารักษามาลาเรียชนิดใหม่ ใน : สมทัศน์ มะลิกุล. มาลาเรียวิทยา. กองมาลาเรีย กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข; 2543. หน้า 103-119.
3. เกศรา ณ บางช้าง. ยาที่ใช้ในการรักษามาลาเรีย ใน : จันทรา เหล่าถาวร, ศรชัย  หลูอารีย์สุวรรณ,
บรรณาธิการ. มาลาเรีย. กรุงเทพฯ : ศักดิ์โสภาการพิมพ์ ; 2540, หน้า 105-131.
4. จันทรา เหล่าถาวร, ตระหนักจิต หะริณสุต. การดื้อยาของเชื้อมาลาเรีย. กรุงเทพ : บริษัทรวมทรรศน์  จำกัด ; 2534. หน้า 78-107.
5. จันทรา เหล่าถาวร, ศรชัย หลูอารีย์สุวรรณ. มาลาเรีย. กรุงเทพ : ศักดิ์โสภาการพิมพ์; 2540.
หน้า 16-131.
6. วนิดา จิตต์หมั่น. แนวโน้มของยาและวัคซีนที่เกี่ยวข้องกับงานโรคติดต่อ ใน : รายงานสัมมนา
การป้อง  กันควบคุมโรคติดต่อ ระดับชาติ ประจำปี 2543
กรมควบคุมโรคติดต่อยุคไร้พรมแดน. ศูนย์ประสาน  งานทางวิชาการโรคติดต่อ กรมควบคุมโรคติดต่อ; 2543. หน้า 52-57
7. สมใจ นครชัย. ยาต้านมาลาเรีย ใน : อโนชา อุทัยพัฒน์, นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์, บรรณาธิการ.
เภสัชวิทยาเล่ม 2. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ; 2541. หน้า 267-284.
8. Drug facts and comparison. 1999 Edition. A Wolters Kluwer Company: St. Louis; 1999.p.2454-2570.

โรคไข้มาลาเรีย                                                    ผู้ออกข้อสอบนางศิริพร  ยงชัยตระกูล

1. เชื้อมาลาเรียในคนเกิดจากเชื้อปาราสิต Plasmodium  กี่ชนิด
                ก. 3                                        ข. ข.2                                    ค. 4                                        ง. 1
2. เชื้อมาลาเรียชนิดใด  เมื่อเป็นแล้วมีอาการรุนแรงและอันตรายมาก  อาจเกิดเป็นมาลาเรียขึ้นสมอง
                ก. P.falciparum                                  ข. P.pvale
                ค. P. malariac                                     ง. P.vivax
3. ยารักษาโรคมาลาเรียในข้อใดเป็นยารักษาเชื้อมาลาเรียชนิด P.vivax
                ก. คลอโรควิน                                      ข. ไพรมาควิน
                ค. อาร์ติซูเนต                                       ง. ถูกทุกข้อ
4. เชื้อมาลาเรียซึ่งอยู่ในระยะที่เป็นตัวอ่อน (Sporozoite) จะอยู่ที่อวัยวะส่วนใดของยุงก่อนที่ยุงจะกัดและปล่อยเข้าสู่กระแสโลหิตของคน
                ก. ต่อมน้ำเหลือง                                 ข. ต่อมน้ำดี
                ค. ต่อมน้ำลาย                                      ง. กระแสโลหิต
5. การวินิจฉัยเชื้อมาลาเรียอาศัยการชันสูตรทางห้องปฏิบัติการ วิธีที่สำนักงานป้องกันควบคุมโรค
ที่ 2 จังหวัดสระบุรี
                ก. DIPSICK                                        ข. การตรวจฟิล์มโลหิตด้วยกล้องจุลทรรศน์
                ค. ใช้น้ำยาตรวจ                                  ง. ICT

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น