วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

โรคข้อเข่า ....ถ้าไม่อยากผ่าตัด ทำอย่างไร


 โรคข้อเข่า ....ถ้าไม่อยากผ่าตัด ทำอย่างไร


หลายคนคงจำฝังใจเกี่ยวกับภาพบรรยากาศในห้องผ่าตัดในโรงพยาบาล บางท่านเคยสัมผัสมาแล้วจากประสบการณ์ตรง และจากการไปเยี่ยมญาติ  หรือดูจากสารคดี จากโทรทัศน์ และยิ่งในผู้สูงอายุก็จะเกิดความกังวลที่มีอยู่ในใจตลอดเวลา กลัวว่าผ่าตัดแล้วจะเกิดปัญหาต่างๆนานา กลัวเจ็บ  หรือบางท่านกลัวว่าผ่าตัดแล้วจะไม่ฟื้น  ในโรคข้อเข่าเสื่อมก็เช่นกัน หากปล่อยให้ความเสื่อมเกิดขึ้นมาก จนถึงจุดหนึ่ง ก็จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนเข่าไปในที่สุด

           ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับโรคข้อเสื่อมกันเสียก่อน เพราะในปัจจุบันมีสถิติผู้ป่วยที่ประสบปัญหาด้านโรคข้อและกระดูกกันมาก โรคข้อเข่าที่พบมากที่สุดในกลุ่มผู้สูงอายุ เริ่มพบได้ตั้งแต่อายุ 45 ปี แต่มักพบบ่อยเมื่ออายุมากกว่า 60 ปี
การเสื่อมสภาพข้อเข่า รวมถึงเยื่อหุ้มข้อ เส้นเอ็นรอบข้อ และกระดูกที่ประกอบเป็นข้อ เมื่อผู้ป่วยอายุมากขึ้นมักมีน้ำหนักตัวที่มากขึ้นด้วย และเริ่มมีโครงสร้างภายในข้อไม่เป็นปกติ จึงเกิดความเปลี่ยนแปลงความผิดปกติภายในข้อ ซึ่งเริ่มเป็นจากมากไปน้อยดังนี้
ü ผิวของข้อเข่า ซึ่งเป็นกระดูกอ่อน เริ่มสึกหรอ ทำให้ผิวข้อไม่เรียบ การเคลื่อนไหวข้อ มีอาการติดขัด ฝืด หรือเสียงดังคล้ายกระดาษทรายถูกัน
ü การกระจายการรับน้ำหนักของกระดูกผิวข้อ เริ่มผิดปกติ บางบริเวณมากขึ้น บางบริเวณน้อยลง ทำให้การรับน้ำหนักผิดปกติ มีอาการปวดเสียว
ü เยื่อหุ้มข้อ ถูกระคายเคือง เกิดการอักเสบ และสร้างน้ำในข้อมากขึ้น ทำให้เกิดอาการปวด บวม และข้ออุ่น
ü กล้ามเนื้อรอบข้อเข่า มีความแข็งแรงน้อยลง แรงกระแทกจึงเกิดกับผิวข้อมากขึ้น
ü เอ็นยึดข้อ บางส่วนหย่อนยานขึ้น ทำให้ข้อแกว่ง หรือหลวมมากขึ้น เพิ่มการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติมากขึ้น
ü แนวแกนขา เริ่มผิดปกติ จากน้ำหนักที่มากขึ้น ร่วมกับเอ็นยึดข้อที่หย่อนยานขึ้น ทำให้เข่าดูโก่ง หรือดูขาเก
ü กระดูกรอบข้อเกิดการปรับตัว โดยสร้างกระดูกงอกขึ้นภายในข้อ ทำให้ข้อเคลื่อนไหวได้น้อยลง กระดูกบริเวณข้อเข่า และรอบ ๆ ข้อ บางลง เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่เริ่มเดินน้อยลง
             อาการผิดปกติของผู้ป่วยที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมในระยะแรก ประกอบด้วย อาการปวดอาจร่วมกับการมีข้อเข่าบวม อาการขัดที่ข้อ โดยอาการจะเป็นมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวมากขึ้นของข้อ ในขณะเหยียดและงอข้อเข่าจะมีอาการปวด และหรือขัดในข้อมากขึ้น และมีเสียงลั่นในข้อ ซึ่งอธิบายจากการที่ผิวกระดูกภายในข้อเริ่มไม่เรียบและมีกระดูกงอกเกิดขึ้น อาการปวดที่เกิดในผู้ป่วยบางรายทำให้เกิดการปรับตัวด้วยการไม่เหยียดหรืองอข้อเข่าจนสุด เมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้น ทำให้เกิดปัญหาข้อติดขัด และเคลื่อนไหวไม่เต็มวงของการงอเข่าตามมา เมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้น หรือ ข้อที่เสื่อมอักเสบนั้นถูกใช้งานมากอย่างต่อเนื่อง ก็ทำให้อาการผิดปกติเหล่านี้ เป็นมากขึ้นได้

วิธีการที่จะช่วยชะลอการเสื่อมของข้อเข่า
·       หลีกเลี่ยงท่างอข้อเข่ามาก ๆ (นั่งยอง ๆ นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ และนั่งคุกเข่า)
·       หลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันไดหลาย ๆ ชั้น
·       ควบคุมน้ำหนักตัวให้ดี ไม่ให้อ้วน หากน้ำหนักเกินต้องลดน้ำหนักลงมาให้เป็นปกติ
·        หมั่นขยันบริหารกล้ามเนื้อรอบข้อเข่าอยู่เสมอ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อด้านหน้าของต้นขา
·       ในรายที่ข้อโก่งผิดรูป และหรือมีการแกว่งของข้อได้มากกว่าปกติ ควรสวมปลอกสวมข้อเข่า ชนิดมีเหล็กสปริง   ที่ด้านข้างของข้อเข่าทั้งด้านในและด้านนอก
·       รับประทานแคลเซี่ยม วิตามินซี วิตามินดี3 วิตามินเค และสารอาหารบำรุงข้อ คือ กลูโคซามีน และคอนโดอิทิน
แนวทางการรักษาแบบการแพทย์บูรณาการ      
โรคข้อเข่าเสื่อม ไม่จำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเสมอไป หากวินิจฉัยแต่เนิ่น ๆ แล้วดูแลรักษาอย่างถูกต้อง โดยแนวทางบูรณาการจะวางโปรแกรมการรักษาตามเฉพาะบุคคล อาทิ การปรับโครงสร้าง เพื่อลดภาระต่อข้อเข่า สร้างความสมดุล การกระตุ้นระบบไหลเวียนโลหิตบริเวณข้อ การลดน้ำหนัก ร่วมกับการบริหารเฉพาะทางเพื่อสร้างเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและระบบเอ็น การใช้เซลล์ซ่อมเซลล์ หรือ Regenerative Medicine คือ การใช้สารสกัดจากเซลล์สร้างข้อ เข้าไปกระตุ้นการซ่อมแซมตนเองของข้อ  ในสหรัฐอเมริกา ทาง FDA ได้อนุมัติการรักษาวิธีสร้างเสริมข้อ ซึ่งทำจากสารหล่อลื่น Hyalulonic acid ผสมกับ Stem Cell จากตัวเอง  ในขณะที่งานวิจัยหลายชิ้น ก็กำลังทดลอง ใช้ stem cell จากสายสะดือชนิดบริสุทธิ์ Purified cord blood derived mesenchymal stem cell  ซึ่งกระตุ้นการสร้างผิวข้อได้ดีกว่า และสามารถใช้ได้กับทุกคนโดยไม่ต้องตรวจหาความเข้ากันได้  กำลังอยู่ในการวิจัยระยะที่ 3
ศาสตร์ทางด้านเซลล์ซ่อมเซลล์ ช่วยรักษาความเสื่อมได้ผล 67% แต่ต้องใช้เวลา ไม่เหมือนการผ่าตัด ที่เห็นผลทันที แต่ก็เหมาะสำหรับผู้ที่ผ่าตัดไม่ได้ เนื่องจากร่างกายไม่แข็งแรง หรือผู้ที่กลัวการผ่าตัด ก็สามารถหันมาใช้วิธีฟื้นฟูเซลล์ก่อนได้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น