วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

โรคสปาร์กาโนซิส (Sparganosis)


โรค Sparganosis เกิดจากตัวอ่อนของพยาธิตัวตืดใน Genus Spirometra (Diphyllobothrium) ซึ่งจะสร้างซีสต์ที่เรียกว่า Spargana อยู่ในกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายคน พยาธิตัวเต็มวัยจะอยู่ในลำไส้ของสุนัข แมว และสัตว์ที่กินเนื้อเป็นอาหาร

การติดต่อ

1.            ในคน ติดได้จากกินเนื้อกบ งู เขียด ที่มีตัวอ่อนระยะติดต่อ (pleurocercoid) ซึ่งจะ
เจริญเป็น sparganum โดยไม่มีการเจริญเติบโตพบในกล้ามเนื้อ หรือในอวัยวะต่าง ๆ ในบางพื้นที่ที่มีความเชื่อในการใช้เนื้อกบ เขียด งู ไปผสมกับยาพอกตามอวัยวะต่าง ๆ เพื่อรักษาโรค ถ้าในเนื้อดังกล่าวมีระยะตัวอ่อนก็อาจจะไชเข้าสู่แผลโดยตรง และเจริญเปลี่ยนแปลงเป็น Sparganum
2.            ในสัตว์ สุนัข และ แมว รวมทั้งสัตว์กินเนื้อชนิดอื่น ๆ จะได้รับตัวอ่อนพยาธิจากการ
กินปลาที่มีตัวอ่อนระยะติดต่อจากนั้นตัวอ่อนเจริญเป็นตัวแก่ในลำไส้

อาการ
1.            ในคน พยาธิระยะตัวอ่อนอาจพบได้ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายคน เช่น เปลือกตา
กล้ามเนื้อคอ ท้อง โคนขา ช่องท้อง บริเวณที่พยาธิอาศัยอยู่จะมีลักษณะบวมแดงและอักเสบ รวมทั้งอาการคันคล้ายกับในกรณีของโรคพยาธิตัวจิ๊ด แต่ว่าอาการปวดเนื่องจาก Sparganum จะเจ็บอยู่กับที่ไม่มีการเคลื่อนที่
2.            ในสัตว์จะมีอาการไม่เด่นชัด เนื่องจากพยาธิตัวเต็มวัยในลำไส้ ทำให้เกิดอาการทั่ว ๆ
ไป เช่น ท้องเสีย สัตว์เจริญเติบโตช้า แคระแกรน และสุขภาพไม่สมบูรณ์
 

การควบคุมและป้องกัน

1.            ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคพยาธิ Sparganosis ต้องเฝ้าระวังในด้านสุขอนามัย
ของประชาชนในการประกอบอาหารจากพวกปลา กบ เขียด และสัตว์เลื้อยคลาน โดยต้องทำให้สุกก่อนนำมารับประทาน และไม่ควรนำเข้าเนื้อสัตว์เหล่านี้ไปผสมทำยาพอกตามร่างกาย เพราะระยะตัวอ่อน sparganum สามารถไชจากเนื้อที่พอกเข้าไปสู่ร่างกายของคนได้
2.            การดื่มน้ำจากแหล่งน้ำจืดต้องต้มหรือกรองเสียก่อน
3.            สุนัขและแมวที่เลี้ยงอยู่ตามบ้านควรตรวจอุจจาระทุก 6 เดือน -  1 ปี เพื่อจะได้กำจัด
พยาธิ และช่วยตัดวงจรการนำโรคมาสู่คนได้ด้วย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น