โรคบิด |
โรคบิด หมายถึง กลุ่มโรคที่มีอาการถ่ายอุจจาระเหลวครั้งละจำนวนน้อยแต่บ่อยครั้ง ลักษณะอุจจาระจะเป็นมูกและเลือด หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง อาจอุจจาระเป็นน้ำเหลว จนถึงรุนแรง ถึงอุจจาระเลือดปนหนอง มักจะมีอาการปวดท้องเกร็งและถ่ายปวดเบ่งคล้ายถ่ายอุจจาระไม่สุด
แบ่งออกเป็น
1) Bacillary dysentery (บิดไม่มีตัว) หรือ Shigellosis
สาเหตุ เกิดจากเชื้อ Shigella spp. โดยปกติเชื้อสายที่ทำให้เกิดระบาดได้ทั่วไป โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนา คือ S.dysenteriae type 1 และมีอัตราการป่วยตายสูงกว่าซีโรไทป์อื่น ประเทศไทยเคยมีการระบาดของซีโรไทป์นี้ ในจังหวัดต่างๆ ในภาคอีสานแต่ในประเทศที่พัฒนาแล้ว S.sonnei เป็นสาเหตุพบมากสุด
แหล่งรังโรค ที่สำคัญคือคนเท่านั้น
การติดต่อของโรค โดยการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนจากอุจจาระผู้ป่วยหรือผู้ที่เป็นพาหะ การป่วยมักเกิดหลังได้รับเชื้อแม้จำนวนน้อยเพียง 10-100 ตัว ดังนั้นการติดต่อจากผู้ป่วยไปสู่ผู้อื่นจากการสัมผัสโดยตรงจึงเกิดขึ้นง่าย
ระยะติดต่อ ตั้งแต่แสดงอาการจนกระทั่งไม่พบเชื้อในอุจจาระของผู้ป่วย โดยปกติใช้เวลา ประมาณ 4 สัปดาห์ การให้ยาต้านจุลชีพที่เหมาะสม โดยปกติจะช่วยลดระยะเวลาของการเป็นพาหะให้น้อยกว่า 1 สัปดาห์
อาการและอาการแสดง นอกจากอาการดังกล่าวข้างต้น ในเด็กที่ขาดอาหาร หรือภูมิต้านทานต่ำ เชื้ออาจแพร่กระจายเข้าสู่กระแสโลหิตได้ และถ้าไม่ได้รับการรักษาโดยเร็วจะทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนร่วมได้ เช่น toxic megacolon, paralytic ileus เลือดออกในลำไส้ได้ ลำไส้ใหญ่ทะลุ โลหิตเป็นพิษจากการติดเชื้อซ้ำเติมของแบคทีเรียอื่น
โรคบิด หมายถึง กลุ่มโรคที่มีอาการถ่ายอุจจาระเหลวครั้งละจำนวนน้อยแต่บ่อยครั้ง ลักษณะอุจจาระจะเป็นมูกและเลือด หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง อาจอุจจาระเป็นน้ำเหลว จนถึงรุนแรง ถึงอุจจาระเลือดปนหนอง มักจะมีอาการปวดท้องเกร็งและถ่ายปวดเบ่งคล้ายถ่ายอุจจาระไม่สุด แบ่งออกเป็น
โรคบิด หมายถึง กลุ่มโรคที่มีอาการถ่ายอุจจาระเหลวครั้งละจำนวนน้อยแต่บ่อยครั้ง ลักษณะอุจจาระจะเป็นมูกและเลือด หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง อาจอุจจาระเป็นน้ำเหลว จนถึงรุนแรง ถึงอุจจาระเลือดปนหนอง มักจะมีอาการปวดท้องเกร็งและถ่ายปวดเบ่งคล้ายถ่ายอุจจาระไม่สุด แบ่งออกเป็น
2) Amoebic dysentery (บิดมีตัว) หรือ Amoebiasis
สาเหตุ เกิดจากเชื้อ Entamoeba histolytica
แหล่งรังโรค คนปกติมักเป็นผู้ป่วยเรื้อรังหรือปล่อย cyst ในอุจจาระแต่ไม่แสดงอาการ
การติดต่อของโรค เกิดจากการกินผักดิบหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนอุจจาระที่มี cyst ของเชื้อเข้าไปโดยตรง อาจเกิดจากเพศสัมพันธ์ (oral-and contact)
ระยะติดต่อ ช่วงที่มี cyst ออกมากับอุจจาระ ซึ่งอาจนานเป็นปี แต่อาจเป็นชนิดไม่ก่อโรค
อาการและอาการแสดง การติดเชื้อส่วนใหญ่มักไม่ปรากฏอาการ แต่อาจเป็นแบบบิดเฉียบพลัน มีไข้สูงหนาวสั่น อุจจาระร่วงมีเลือดหรือมูกปนเลือด หรือมีอาการเล็กน้อย อุจจาระร่วงมีเลือดหรือมูกปนสลับกับอาการท้องผูก เชื้ออาจแพร่กระจายไปตามกระแสโลหิต ทำให้เกิดก้อนฝีที่ตับ ปอด หรือสมอง
3) Unspecified dysentery เกิดจากเชื้ออื่นๆ ได้แก่
3.1 E.coli O157 : H7
สาเหตุ เกิดจากเชื้อ Escherichia coli serotype O157 : H7
แหล่งรังโรค สัตว์เลี้ยงประเภทวัว ควาย สัตว์ปีก เช่น ไก่งวง และในคน
การติดต่อของโรค
การรับประทานอาหารปนเปื้อนเชื้อ ส่วนใหญ่ ได้แก่ เนื้อวัว ที่ปรุงแบบไม่สุก แฮมเบอร์เกอร์ แซนวิชที่ใช้แฮม ไก่งวง เนยแข็ง นมดิบ และน้ำแอปเปิล เป็นต้น การติดต่อจากคนไปคนได้ พบในโรงพยาบาล ภายในครอบครัวและสถานเลี้ยงเด็ก เชื้อเพียง 100 ตัวก็ก่อให้เกิดอาการของโรคได้
การรับประทานอาหารปนเปื้อนเชื้อ ส่วนใหญ่ ได้แก่ เนื้อวัว ที่ปรุงแบบไม่สุก แฮมเบอร์เกอร์ แซนวิชที่ใช้แฮม ไก่งวง เนยแข็ง นมดิบ และน้ำแอปเปิล เป็นต้น การติดต่อจากคนไปคนได้ พบในโรงพยาบาล ภายในครอบครัวและสถานเลี้ยงเด็ก เชื้อเพียง 100 ตัวก็ก่อให้เกิดอาการของโรคได้
ระยะติดต่อ 3-9 วัน เฉลี่ยประมาณ 4 วัน
อาการและอาการแสดง
เป็นสาเหตุการระบาดของ hemorrhagic colitis อุจจาระมีลักษณะเป็นเลือดชัดเจน แต่ไม่พบเม็ดเลือดขาวยังอาจเกิด hemorrhagic-uremic syndrome
เป็นสาเหตุการระบาดของ hemorrhagic colitis อุจจาระมีลักษณะเป็นเลือดชัดเจน แต่ไม่พบเม็ดเลือดขาวยังอาจเกิด hemorrhagic-uremic syndrome
3.2 E.coli O157 : H7
สาเหตุ
ในคนส่วนใหญ่เป็นเชื้อ C.jejuni และ C.coli
ในคนส่วนใหญ่เป็นเชื้อ C.jejuni และ C.coli
แหล่งรังโรค
สัตว์หลายชนิด เช่น วัว ควาย สัตว์ปีก สัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว สุกร แกะ นก สามารถแพร่เชื้อมาคนได้
สัตว์หลายชนิด เช่น วัว ควาย สัตว์ปีก สัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว สุกร แกะ นก สามารถแพร่เชื้อมาคนได้
การติดต่อของโรค
โดยการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำ นม ที่ปนเปื้อนเชื้อ หรืออาจติดต่ดโดยสัมผัสโดยตรงกับสัตว์เลี้ยงที่ติดเชื้อ
โดยการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำ นม ที่ปนเปื้อนเชื้อ หรืออาจติดต่ดโดยสัมผัสโดยตรงกับสัตว์เลี้ยงที่ติดเชื้อ
ระยะฟักตัว
1-10 วัน เฉลี่ย 3-5 วัน
1-10 วัน เฉลี่ย 3-5 วัน
ระยะติดต่อ
ถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับยาปฏิชีวนะอาจนาน 2-7 สัปดาห์
ถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับยาปฏิชีวนะอาจนาน 2-7 สัปดาห์
อาการและอาการแสดง
มีความรุนแรงแตกต่างกันออกไป ได้แก่ มีไข้ ปวดท้อง อุจจาระร่วง อาจมีอาเจียนร่วมด้วย อุจจาระร่วงมักถ่ายเป็นน้ำจำนวนมาก อาจสลับกับการถ่ายอุจจาระเป็นเลือดสดปนอาจมีเยื่อเมือกและเม็ดเลือดสดปน อาการแทรกซ้อน มักเกิดหลังการติดเชื้อ C.jejuni ประมาณ 3 สัปดาห์ ได้แก่ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ,encephalopathy, stroke, Guillain-Barre syndrome และหนองในเยื่อหุ้มปอด (empyema)
มีความรุนแรงแตกต่างกันออกไป ได้แก่ มีไข้ ปวดท้อง อุจจาระร่วง อาจมีอาเจียนร่วมด้วย อุจจาระร่วงมักถ่ายเป็นน้ำจำนวนมาก อาจสลับกับการถ่ายอุจจาระเป็นเลือดสดปนอาจมีเยื่อเมือกและเม็ดเลือดสดปน อาการแทรกซ้อน มักเกิดหลังการติดเชื้อ C.jejuni ประมาณ 3 สัปดาห์ ได้แก่ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ,encephalopathy, stroke, Guillain-Barre syndrome และหนองในเยื่อหุ้มปอด (empyema)
คำแนะนำสำหรับประชาชน
โรคอุจจาระร่วง หรือ โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ ทั้งหมดเป็นโรคที่ประชาชนสามารถป้องกันได้ด้วยการกันดูแลสุขอนามัยในการรับประทานอาหาร การเก็บอาหาร และการปรุงอาหาร รวมทั้งล้างมือหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง
องค์การอนามัยโลกได้กำหนดกฎทอง 10 ประการ เพื่อเป็นแนวปฏิบัติในการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคอุจจาระร่วง คือ
1. เลือกอาหารที่ผ่านกระบวนการผลิตอย่างปลอดภัย เช่น เลือกนมที่ผ่านกระบวนการพาสเจอร์ไรซ์ ผักผลไม้ควรล้างด้วยน้ำปริมาณมากๆ ให้สะอาดทั่วถึง
2. ปรุงอาหารให้สุกทั่วถึงก่อนรับประทาน
3. รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ
4. หากมีความจำเป็นต้องเก็บอาหารที่ปรุงสุกไว้นานกว่า 4-5 ชั่วโมง ควรเก็บไว้ในตู้เย็นส่วนอาหารสำหรับทารกนั้นไม่ควรเก็บไว้ข้ามมื้อ
5. ก่อนที่จะนำอาหารมารับประทานความอุ่นให้ร้อน
6. ไม่นำอาหารที่ปรุงสุกแล้วมาปนกับอาหารดิบอีก เพราะอาหารที่สุกอาจปนเปื้อนเชื้อโรคได้
7. ล้างมือให้สะอาด ไม่ว่าจะเป็นก่อนการปรุงอาหาร ก่อนรับประทาน และโดยเฉพาะหลังการเข้าห้องน้ำ
8. ดูแลความสะอาดของพื้นที่สำหรับเตรียมอาหาร ล้างทำความสะอาดหลังการใช้ทุกครั้ง
9. เก็บอาหารให้ปลอดภัยจากแมลง หนู หรือสัตว์อื่นๆ
10. ใช้น้ำสะอาดในการปรุงอาหาร และควรระวังเป็นพิเศษในการใช้น้ำเพื่อเตรียมอาหารเด็กทารกได้
โรคอุจจาระร่วง หรือ โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ ทั้งหมดเป็นโรคที่ประชาชนสามารถป้องกันได้ด้วยการกันดูแลสุขอนามัยในการรับประทานอาหาร การเก็บอาหาร และการปรุงอาหาร รวมทั้งล้างมือหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง
องค์การอนามัยโลกได้กำหนดกฎทอง 10 ประการ เพื่อเป็นแนวปฏิบัติในการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคอุจจาระร่วง คือ
1. เลือกอาหารที่ผ่านกระบวนการผลิตอย่างปลอดภัย เช่น เลือกนมที่ผ่านกระบวนการพาสเจอร์ไรซ์ ผักผลไม้ควรล้างด้วยน้ำปริมาณมากๆ ให้สะอาดทั่วถึง
2. ปรุงอาหารให้สุกทั่วถึงก่อนรับประทาน
3. รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ
4. หากมีความจำเป็นต้องเก็บอาหารที่ปรุงสุกไว้นานกว่า 4-5 ชั่วโมง ควรเก็บไว้ในตู้เย็นส่วนอาหารสำหรับทารกนั้นไม่ควรเก็บไว้ข้ามมื้อ
5. ก่อนที่จะนำอาหารมารับประทานความอุ่นให้ร้อน
6. ไม่นำอาหารที่ปรุงสุกแล้วมาปนกับอาหารดิบอีก เพราะอาหารที่สุกอาจปนเปื้อนเชื้อโรคได้
7. ล้างมือให้สะอาด ไม่ว่าจะเป็นก่อนการปรุงอาหาร ก่อนรับประทาน และโดยเฉพาะหลังการเข้าห้องน้ำ
8. ดูแลความสะอาดของพื้นที่สำหรับเตรียมอาหาร ล้างทำความสะอาดหลังการใช้ทุกครั้ง
9. เก็บอาหารให้ปลอดภัยจากแมลง หนู หรือสัตว์อื่นๆ
10. ใช้น้ำสะอาดในการปรุงอาหาร และควรระวังเป็นพิเศษในการใช้น้ำเพื่อเตรียมอาหารเด็กทารกได้
กฎ 3 ข้อ ขององค์การนามัยโลก
อย่างไรก็ตามเมื่อประชาชนหรือเด็กในครอบครัวมีอาการของโรคอุจจาระร่วงก็สามารถเริ่มต้นรักษาได้ที่บ้านโดยใช้กฎ 3 ข้อ ขององค์การนามัยโลก
1. ให้สารน้ำละลายเกลือแร่โอ อาร์ เอส หรือ ของเหลวมากกว่าปกติ เพื่อป้องกันการขาดน้ำ
2. ให้อาหารอ่อนย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก หรือน้ำข้าว หรือแกงจืด ไม่งดอาหาร เพื่อป้องกันการขาดสารอาหาร
3. เมื่ออาการโรคอุจจาระร่วงไม่ดีขึ้นก็ควรไปพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือแพทย์ได้แก่
- ถ่ายเป็นน้ำมากขึ้น
- อาเจียนบ่อย กินอาหารไม่ได้
- กระหายน้ำกว่าปกติ
- มีไข้สูง
- ถ่ายอุจจาระเป็นมูกหรือปนเลือด
อย่างไรก็ตามเมื่อประชาชนหรือเด็กในครอบครัวมีอาการของโรคอุจจาระร่วงก็สามารถเริ่มต้นรักษาได้ที่บ้านโดยใช้กฎ 3 ข้อ ขององค์การนามัยโลก
1. ให้สารน้ำละลายเกลือแร่โอ อาร์ เอส หรือ ของเหลวมากกว่าปกติ เพื่อป้องกันการขาดน้ำ
2. ให้อาหารอ่อนย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก หรือน้ำข้าว หรือแกงจืด ไม่งดอาหาร เพื่อป้องกันการขาดสารอาหาร
3. เมื่ออาการโรคอุจจาระร่วงไม่ดีขึ้นก็ควรไปพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือแพทย์ได้แก่
- ถ่ายเป็นน้ำมากขึ้น
- อาเจียนบ่อย กินอาหารไม่ได้
- กระหายน้ำกว่าปกติ
- มีไข้สูง
- ถ่ายอุจจาระเป็นมูกหรือปนเลือด
วัคซีนป้องกันโรค
สำหรับวัคซีนป้องกันโรคนั้นปัจจุบันมี
1. วัคซีนป้องกันโรคอุจจาระร่วงอย่างแรงชนิดกิน
2. วัคซีนป้องกันโรคไข้ทัยฟอยด์ชนิดกิน
การให้วัคซีนใช้เฉพาะคนที่เลี่ยงต่อการเกิดโรคเท่านั้น เช่น จะเดินทางไปในพื้นที่เกิดโรคเป็นประจำ หรือสมาชิกในครอบครัวเป็นพาหะเชื้อไข้ทัยฟอยด์ ส่วนวัคซีนป้องกันโรคอุจจาระร่วงอย่างแรงประสิทธิภาพของวัคซีน และระยะเวลาของภูมิคุ้มกันอยู่ในระยะสั้น
สำหรับวัคซีนป้องกันโรคนั้นปัจจุบันมี
1. วัคซีนป้องกันโรคอุจจาระร่วงอย่างแรงชนิดกิน
2. วัคซีนป้องกันโรคไข้ทัยฟอยด์ชนิดกิน
การให้วัคซีนใช้เฉพาะคนที่เลี่ยงต่อการเกิดโรคเท่านั้น เช่น จะเดินทางไปในพื้นที่เกิดโรคเป็นประจำ หรือสมาชิกในครอบครัวเป็นพาหะเชื้อไข้ทัยฟอยด์ ส่วนวัคซีนป้องกันโรคอุจจาระร่วงอย่างแรงประสิทธิภาพของวัคซีน และระยะเวลาของภูมิคุ้มกันอยู่ในระยะสั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น