เกิดจากพยาธิใบไม้ Fasciolopsis buski อาศัยอยู่ในลำไส้ของคนและสัตว์โดยเฉพาะในสุกร
การติดต่อ
1. ในคน จากการกินพืชน้ำ เช่น ผักบุ้ง กระจับ สายบัว แห้วจีน ผักแว่น ผักกระเฉดและ
ผักตบชวาที่ปนเปื้อนด้วยระยะ metacercaria ของพยาธิ
2. ในสัตว์ สุกรได้รับพยาธิจากการนำผักที่มีตัวอ่อนระยะติดต่อปนเปื้อนอยู่ไปเลี้ยงสุกร
ทำให้ติดพยาธิและเมื่อนำอุจจาระสุกรไปใช้เป็นปุ๋ยธรรมชาติรดพวกผัก หรือล้างลงแหล่งน้ำจะทำให้เกิดการปนเปื้อนในแหล่งน้ำและทำให้การแพร่กระจายของโรคพยาธิเกิดอย่างสมบูรณ์
อาการของโรค
1. ในคน พยาธิตัวแก่ที่เกาะที่ผนังลำไส้ จะทำให้เกิดอาการท้องเดินเป็นครั้งคราว ถ้ามี
พยาธิจำนวนมากจะทำให้เกิดบาดแผลในลำไส้โฮสต์ ได้ ตัวพยาธิอาจขับสารที่เป็นพิษ ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการแพ้ พยาธิมีขนาดใหญ่ถ้ามีอยู่ในจำนวนมาก ๆ อาจทำให้เกิดการอุดตันในลำไส้ได้ อาการที่มักพบได้แก่ ปวดท้อง บวมบริเวณใบหน้า ตับโต คลื่นไส้อาเจียร ผิวหนังแห้งและหยาบ และถ้ามีพยาธิจำนวนมากอาจทำให้ตายได้
2. ในสัตว์ สุกรจะมีพยาธิ F. buski เพียง 3-12 ตัว ทำให้มีอาการไม่เด่นชัดมากนัก
อาจพบอาการท้องเสียและสัตว์จะเจริญเติบโตช้า หรือ การแลกเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อลดลง
การตรวจวินิจฉัย
ตรวจหาไข่พยาธิจากอุจจาระทั้งในคนและในสุกร
การควบคุมและป้องกัน
1. พยาธิ F. buski มักพบระบาดในพื้นที่ที่มีน้ำท่วม มีพืชน้ำจำนวนมาก การป้องกันและควบคุม ควรป้องกันโดยไม่ให้กินผักและพืชน้ำดิบ ๆ เช่น ผักบุ้ง สายบัว แห้วจีน กระจับ และพืชน้ำอื่น ๆ อัตราการติดโรคในเด็กสูงเพราะเด็กมักชอบเล่นน้ำแล้วเอากระจับหรือแห้วมากัดกินดิบ ๆ ระยะติดต่อ (metacercaria) จะติดอยู่ที่ผิวนอกของพืชน้ำ
2. สุกร เป็นพาหะหรือเป็นตัวเก็บกักโรคที่สำคัญ ไม่ควรล้างมูลสุกรทิ้งลงสู่แหล่งน้ำโดยตรง ควรมีบ่อพัก หรือกักมูลสุกรให้อยู่ในหลุม หรือบ่อไม่ให้ไหลไปปนเปื้อนกับแหล่งน้ำภายนอก การเลี้ยงสุกรในฟาร์มส่วนใหญ่จะใช้อาหารสำเร็จ มีเพียงเกษตรกรรายย่อยเท่านั้นที่ยังคงเลี้ยงสุกรด้วยเศษอาหาร และพืชผักรวมทั้งผักตบชวาตามแหล่งน้ำที่หาได้ง่ายในเขตภาคกลาง
3. ในเขตชนบทที่ประชาชนยังคงมีพฤติกรรมถ่ายอุจจาระตามสะดวกโดยถ่ายอุจจาระรอบ ๆ บ้าน หรือตามท้องทุ่ง โดยเฉพาะเด็ก ๆ จะถือเอาความสะดวกในการถ่ายอุจจาระตามทุ่งนาหรือใกล้แหล่งน้ำ จึงยังอาจจะพบโรคพยาธิชนิดนี้ได้บ้าง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น